Skip to content Skip to footer

การแบ่งเกรดตัวอ่อนวัดจากอะไร

เกรดตัวอ่อน มีความสำคัญต่อการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI IVF

เมื่อพูดถึงกระบวนการคัดเลือกตัวอ่อน ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI คู่รักหลายคู่ที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก จึงมักตั้งคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ‘ตัวอ่อน’ นั้นเป็นตัวอ่อนที่ดีก่อนที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก เพราะการที่จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวอ่อนที่มีคุณภาพ
ก่อนอื่นคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูกควรทำความเข้าใจก่อนว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI ภายหลังจากที่ไข่ผสมกับสเปิร์มแล้ว แพทย์จะนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยนักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งในระยะเวลาพัฒนาตัวอ่อนก็อยู่ที่ประมาณ 5-6 วัน ในช่วงนี้ก็จะมีการแบ่งเกรดของตัวอ่อน ด้วยกัน 2 ระยะ ดังนี้

1.ระยะคลีเวจ (Cleavage)

เป็นระยะที่ตัวอ่อนเกิดการแบ่งตัว เป็นระยะหลังไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24 – 72 ชั่วโมงเป็นระยะที่ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24 ชั่วโมงเป็นต้นไป จนไปถึงไม่เกินวันที่ 4 จะแบ่งเกรด โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลจากเกณฑ์การให้คะแนนตัวอ่อนของ Istanbul Consensus Scoring System 2011 โดยจะมีการพิจารณาจากรูปร่างความสมมาตรของเซลล์ที่พบ สำหรับการแบ่งเกรดระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
· คลีเวจ เกรด 1 (GOOD) เป็นตัวอ่อนที่มี blastomeres มีการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เป็นรูปร่างกลมสวย มีขนาดเท่าๆ กันและรูปร่างใกล้เคียงกัน ไม่มีแฟรกเมนเตชัน (Fragmentation เศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อน) หรือหากมีก็น้อยกว่า 10 % จัดว่าเป็นตัวอ่อนเกรด 1 ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะเจริญเติบโตเป็นระยะบลาสโตซิสท์ได้สูง
· คลีเวจ เกรด 2 (FAIR) เป็นตัวอ่อนที่มี blastomeres หรือการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เซลล์มีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน และมีแฟรกเมนเตชัน (Fragmentation) พบอยู่ประมาณ 10-25 %
· คลีเวจ เกรด 3 (POOR) เป็นตัวอ่อนที่มี blastomeres หรือการแบ่งตัวของเซลล์ที่ขนาดไม่เท่ากัน มีแฟรกเมนเตชันอยู่ มากกว่า 25 % หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของตัวอ่อน ซึ่งกรณีนี้อาจจะหาเซลล์ของตัวอ่อนไม่พบเลย แต่ยังสามารถเพาะเลี้ยงต่อไปตามปกติได้ เพราะยังมีโอกาสเติบโตเป็นบลาสโตซิสท์ แต่เซลล์ของตัวอ่อนอาจจะไม่สมบูรณ์มากนัก

2.ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst)

เมื่อตัวอ่อนผ่านระยะคลีเวจ Cleavage จะพัฒนาสู่ระยะบลาสโตซิสท์ Blastocyst เป็นระยะที่มีตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ 5-6 วันหลังจากที่ไข่กับสเปิร์มผสมกัน ซึ่งเมื่อเลี้ยงตัวอ่อนถึง Day 5-6 หรือระยะบลาสโตซิสท์แล้ว ก็จะมีการแบ่งเกรดตัวอ่อนอีกครั้ง โดยเกรดของตัวอ่อนจะถูกแบ่งเป็น A B C ตามลำดับ ซึ่งการแบ่งเกรดตัวอ่อนนั้นจะยึดหลักการคัดเกรดของ Gardner and Schoolcraft (1999) โดยระยะของบลาสโตซิสท์จะแบ่งเป็น 6 เกรด ซึ่งการแบ่งเกรดตัวอ่อนนั้นจะพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ ดังนี้

1.Expansion รูปร่างของเซลล์ของตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสท์ แบ่งเป็น 6 ระยะ การเติบโตของบลาสโตซิสท์ ดังนี้
· ระดับที่ 1 Early Blastocyst จะมีบลาสโทซีล (Blastocoel) น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาตรตัวอ่อน (ในระยะ Blastocyst จะมีการเคลื่อนที่ของเซลล์เพื่อให้ได้ช่องว่างในตัวอ่อน เรียกช่องว่างนี้ว่า Blastocoel)
· ระดับที่ 2 Blastocyst จะมีบลาสโทซีลมากกว่าครึ่งหนึ่งของขนาดตัวอ่อน
· ระดับที่ 3 Full Blastocyst มีบลาสโทซีลเจริญเต็มที่อยู่ในตัวอ่อน และขนาดตัวอ่อนมีขนาดใหญ่ขึ้น
· ระดับที่ 4 Expanded Blastocyst ปริมาตรของบลาสโทซีลมีขนาดใหญ่กว่า 3 ระยะแรกของตัวอ่อน เปลือกไข่ หรือ Zona pellucida จะบางลงครึ่งหนึ่ง รวมทั้งขนาดตัวอ่อนจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น
· ระดับที่ 5 Hatching Blastocyst ส่วนที่จะเติบโตไปเป็นรกหรือ Trophectoderm เริ่มโผล่ออกมาจากเปลือกแล้ว
· ระดับที่ 6 Hatched Blastocyst ตัวอ่อนฟักตัวหลุดออกมาจากเปลือกแล้ว
2.Inner Cell Mass (ICM) เป็นเซลล์ที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและไปฝังตัวที่มดลูก จะมีการเกรดเป็น 3 เกรด คือจะได้ เกรด A , B , C
· Grade A : มีจำนวนเซลล์มาก และยึดเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน
· Grade B : มีเซลล์ไม่มาก มีการรวมกลุ่มกันหลวม ๆ มีการกระจายตัวบ้าง
· Grade C : มีเซลล์น้อยมากหรืออาจมองไม่เห็นการรวมกลุ่มของ Inner Cell Mass เลย
3.Trophectoderm เป็นเซลล์ที่จะเจริญเติบโตเป็นรกไปเกาะที่ผนังมดลูก
· Grade A : มีจำนวนเซลล์มาก มีขนาดเซลล์เรียงตัวกันสม่ำเสมอ สวยงาม
· Grade B : มีจำนวนเซลล์ที่น้อย ยึดเกาะกันหลวมๆ หรือขนาดและเซลล์เรียงตัวกันไม่สม่ำเสมอ ขนาดเซลล์มีเล็กบ้างใหญ่บ้าง
· Grade C : มีจำนวนเซลล์น้อยมาก ขนาดเซลล์เล็กบาง ไม่สม่ำเสมอ

เกรดตัวอ่อนมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

หลักเกณฑ์การย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูก

เมื่อคัดเลือกตัวอ่อนได้แล้ว แพทย์จะคำนึงถึงอายุของผู้ป่วย เช่น อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปหรือไม่ ประวัติการเจริญพันธุ์ คู่รักที่เคยแท้ง 2 ครั้ง และข้อมูลอื่นๆ เช่น กรณีที่คู่รักมีลูกยากและอยากมีลูก คนใดคนนึ่งอาจมีโครโมโซมผิดปกติ ก็จะมีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพิ่มเติมก่อนการย้ายกลับสู่โพรงมดลูก เพื่อความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปกติแล้วการย้ายบลาสโตซิสต์จะดำเนินการในตัวอ่อนระยะวันที่ 5 หรือวันที่ 6 เพราะถือว่าเป็นระยะที่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดในการฝังตัว

ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูก

ในขั้นตอนนี้แพทย์และคู่รักที่ประสบกับปัญหาภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI จะพิจารณาร่วมกันในการย้ายตัวอ่อน1 หรือ 2 ตัวสู่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มโอกาสการประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์โดยลดความเสี่ยงโอกาสการเกิดตัวอ่อน 1 ตัวจะไม่ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ การย้ายตัวอ่อน 2 ตัว จะเป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ประสบความสำเร็จ และขณะเดียวกันยังมีโอกาสตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ด้วย ซึ่งการตั้งครรภ์แฝด ถือเป็นภาวะการแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสม และความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แฝด จากความแข็งแรงสมบูรณ์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
คู่รักที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก ที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจเข้าสู่การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI ทาง Genesis Fertility Center คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของคนไข้เสมอ เพื่อให้คนไข้ของเราได้รับตัวอ่อนที่ดีที่สุดก่อนการย้ายตัวอ่อน และโอกาสความสำเร็จการตั้งครรภ์ โดยคลินิกมีบริการครบวงจร ตั้งแต่การตรวจหาสาเหตุ การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน ตลอดจนการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม คุ้มค่าและมีโอกาสเห็นผลสูง พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอย่างโปร่งใส

Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.