ทำ icsi ไม่ตรวจโครโมโซมโอกาสตั้งครรภ์และความเสี่ยงที่ควรรู้
คู่รักที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างการทำเด็กหลอดแก้ว การทำ icsi เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หลายคนมีข้อข้องใจหากไม่ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน โอกาสในการตั้งครรภ์จะลดลงหรือไม่การทำ icsi โดยไม่ได้ตรวจโครโมโซมคืออะไร
การทำเด็กหลอดแก้วโดยวิธี icsi (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการนำสเปิร์มฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และนำตัวอ่อนที่ได้ย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกของผู้หญิง โดยที่ตัวอ่อนไม่ได้มีการตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมใน เหตุผลที่คู่รักเลือกที่จะไม่ตรวจโครโมโซม ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายการตรวจโครโมโซม รวมทั้งความเชื่อส่วนบุคคล และบางคู่มีความเชื่อที่ไม่ต้องการแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติ หรือกระทั่งความเร่งรีบ บางคู่ต้องการตั้งครรภ์โดยเร็วที่สุด และอาจเลือกที่จะไม่รอผลการตรวจโครโมโซมนั่นเองทำ icsi ไม่ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนท้องยากหรือไม่
การทำ icsi เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ุที่มีกระบวนการซับซ้อน และต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง โดยหนึ่งในขั้นตอนสำคัญก็คือการตรวจสอบคุณภาพของตัวอ่อน เพราะเป็นการตรวจสอบจำนวน และโครงสร้างของโครโมโซมในตัวอ่อน เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติมาทำการย้ายกลับเข้าสู่มดลูก- การทำ icsi โดยไม่ได้ตรวจโครโมโซม มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แต่มีความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ และสุขภาพของทารกในอนาคต การตัดสินใจว่าจะตรวจโครโมโซมหรือไม่ ควรพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ อายุของผู้หญิง คุณภาพของไข่ อสุจิ และสุขภาพโดยรวมของมดลูก ล้วนมีผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ สำหรับอัตราการตั้งครรภ์จากการไม่ได้ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนอยู่ที่ประมาณ 40% หลังการย้ายกลับตัวอ่อนที่ปกติ
- ทำ icsi โดยตรวจโครโมโซมตัวอ่อน จะมีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการไม่ตรวจโครโมโซม เนื่องจากการย้ายตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติเข้าสู่มดลูก จะเพิ่มโอกาสในการฝังตัว และการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ดีขึ้น โดยอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 60-70% แต่ในทางการแพทย์ก็ไม่รับประกันความสำเร็จ 100% ถึงแม้ว่าการตรวจโครโมโซมจะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะตั้งครรภ์ได้เสมอไป
ทำไมไม่ตรวจโครโมโซมมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า
- โอกาสตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้หญิง คุณภาพของไข่ และตัวอ่อน ประสบการณ์ของแพทย์ เป็นต้น การไม่ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่จะส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนที่นำไปฝังตัว
- ความผิดปกติของโครโมโซม ตัวอ่อนที่ไม่ได้รับการตรวจโครโมโซม อาจมีความผิดปกติของจำนวนหรือโครงสร้างของโครโมโซม ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ทำให้เกิดการแท้งบุตร หรือคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม
- การฝังตัวของตัวอ่อน หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi ตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจไม่สามารถฝังตัวในผนังมดลูกได้ดี ทำให้การตั้งครรภ์ไม่ประสบความสำเร็จ
- การเจริญเติบโตของตัวอ่อน หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi แม้ว่าตัวอ่อนจะฝังตัวได้ แต่หากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ก็อาจทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดปกติและนำไปสู่การแท้งบุตรในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์
- คุณภาพของตัวอ่อน ที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมอาจจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ หรืออาจจะนำไปสู่การแท้งบุตร
ก่อนทำ icsi ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนหรือไม่
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ช่วยลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่ล้มเหลว การแท้งบุตร และการคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ส่วนตัวอ่อนที่ไม่ตรวจโครโมโซม ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้- ภาวะดาวน์ซินโดรม เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาช้า
- ภาวะเอ็ดเวิร์ดซินโดรม เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ทำให้เด็กมีหัวใจพิการรุนแรง
- ภาวะแพทาอูซินโดรม เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง ทำให้เด็กมีใบหน้าผิดปกติ หัวใจพิการ และความผิดปกติของระบบประสาท
- ภาวะโครโมโซมอื่นๆ เช่น การขาดหายของโครโมโซมบางส่วน หรือการมีโครโมโซมเรียงลำดับผิดปกติ
ใครที่ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ด้วยวิธี PGT – A by NGS
ผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยวิธี NGS (Next-generation sequencing) เป็นการตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนก่อนการย้ายกลับเข้าสู่มดลูก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ และลดความเสี่ยงของการคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ได้แก่- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อคุณภาพของไข่ และเพิ่มความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
- สามีหรือภรรยามีพาหะโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปยังเด็กได้ เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) มีความผิดปกติทางสติปัญญา ปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วมือบิดงอ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) และโรคลูคิเมีย (Leukemia)
- เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมมาก่อน
- มีประวัติแท้งคุกคาม หรือ แท้งติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ทราบสาเหตุของการแท้งบุตร
- คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว icsi ด้วยวิธีปกติ 3 ครั้งขึ้นไปแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนอาจช่วยระบุสาเหตุและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
6 ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมแบบ NGS
- เก็บตัวอย่างเซลล์จากตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์จะทำการสกัดเซลล์ของผู้ทำเด็กหลอดแก้ว icsi จำนวนน้อยจากตัวอ่อนที่กำลังพัฒนา โดยปกติจะทำเมื่อตัวอ่อนอยู่ในระยะบลาสโตซิสต์ ประมาณวันที่ 5-6 หลังการปฏิสนธิ
- สกัด DNA จากเซลล์ที่ได้ ออกมาเพื่อนำไปวิเคราะห์
- เตรียมตัวอย่างสำหรับการ sequencing DNA ที่สกัดได้จะถูกเตรียมให้พร้อมสำหรับการทำ sequencing โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การตัด DNA ออกเป็นชิ้นเล็กๆ การเพิ่มปริมาณ DNA และการสร้างไลบรารีของ DNA
- การ sequencing DNA ที่เตรียมไว้จะถูกนำไปวิเคราะห์ลำดับเบสโดยเครื่อง sequencing ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้พร้อมกันหลายล้านชิ้นในเวลาอันสั้น
- วิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการ sequencing จะถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของโครโมโซมปกติ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม หรือความผิดปกติของโครงสร้างโครโมโซม
- รายงานผลการวิเคราะห์ จะแสดงให้เห็นว่าตัวอ่อนแต่ละตัวมีโครโมโซมปกติหรือไม่ และหากมีความผิดปกติจะระบุชนิดของความผิดปกติ
ข้อดีการตรวจโครโมโซมแบบ PGT – A by NGS
- มีความแม่นยำสูงกว่า และสามารถตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมได้มากกว่าวิธีการเดิม นอกจากนี้ยังใช้เวลาน้อยกว่า และสามารถตรวจสอบโครโมโซมได้ทั้งหมด
- การตรวจโครโมโซมแบบ NGS มีความเสี่ยงต่อตัวอ่อนน้อยมาก เนื่องจากปริมาณเซลล์ที่นำไปตรวจนั้นน้อยมาก
- ความแม่นยำสูง สามารถตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมได้เกือบทุกชนิดของผู้ทำเด็กหลอดแก้ว icsi
- ตรวจได้รวดเร็ว ได้ผลการตรวจภายในระยะเวลาอันสั้น
- ตรวจได้ครอบคลุม สามารถตรวจสอบโครโมโซมได้ทั้งหมด 23 คู่
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้กับผู้ทำเด็กหลอดแก้ว icsi ช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ลดความเสี่ยงของโรคทางพันธุกรรม ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมในทารก
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ และลดความเสี่ยงของการคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่การทำเด็กหลอดแก้ว icsi โดยไม่ตรวจโครโมโซมก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แต่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จและมีบุตรที่แข็งแรงจะน้อยกว่าการทำ icsi พร้อมกับการตรวจโครโมโซม
หากคุณเป็นคู่รักที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจโครโมโซม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง และหากกำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว ตรวจโครโมโซม ฝากไข่ ทำ icsi สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์ เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ุให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์ และบุคลากรในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคาเริ่มต้น 170,000 บาท ฝากไข่ ราคา 170,000 บาท หรือ egg freezing ราคา 170,000 บาท และมีบริการแบ่งเกรดตัวอ่อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.