เกรดตัวอ่อน มีความสำคัญต่อการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI IVF
เมื่อพูดถึงกระบวนการคัดเลือกตัวอ่อน ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI คู่รักหลายคู่ที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากและอยากมีลูก จึงมักตั้งคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ‘ตัวอ่อน’ นั้นเป็นตัวอ่อนที่ดีก่อนที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก เพราะการที่จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวอ่อนที่มีคุณภาพ ก่อนอื่นคู่รักที่มีลูกยากและอยากมีลูกควรทำความเข้าใจก่อนว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI ภายหลังจากที่ไข่ผสมกับสเปิร์มแล้ว แพทย์จะนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยนักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งในระยะเวลาพัฒนาตัวอ่อนก็อยู่ที่ประมาณ 5-6 วัน ในช่วงนี้ก็จะมีการแบ่งเกรดของตัวอ่อน ด้วยกัน 2 ระยะ ดังนี้
1.ระยะคลีเวจ (Cleavage)
เป็นระยะที่ตัวอ่อนเกิดการแบ่งตัว เป็นระยะหลังไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24 – 72 ชั่วโมงเป็นระยะที่ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24 ชั่วโมงเป็นต้นไป จนไปถึงไม่เกินวันที่ 4 จะแบ่งเกรด โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลจากเกณฑ์การให้คะแนนตัวอ่อนของ Istanbul Consensus Scoring System 2011 โดยจะมีการพิจารณาจากรูปร่างความสมมาตรของเซลล์ที่พบ สำหรับการแบ่งเกรดระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ · คลีเวจ เกรด 1 (GOOD) เป็นตัวอ่อนที่มี blastomeres มีการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เป็นรูปร่างกลมสวย…
การทำ IUI ทางเลือกการรักษาภาวะมีบุตรยากสเต็ปแรกของคู่รักที่อยากมีลูก
ปัญหาการมีบุตรยาก กลายเป็นเรื่องปวดใจสำหรับคู่รักบางคู่ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดในช่วงระยะเวลา 1 ปี การทำ IUI เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคู่รักที่อยากมีลูก เพราะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ 10% แต่ในปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยาก มีให้เลือกหลายวิธี ทั้งเด็กหลอดแก้ว IVF (In-vitro Fertilization) และ IUI ซึ่งทั้งสองวิธีดังกล่าวมีกระบวนการที่แตกต่างกัน และมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสของการปฏิสนธิมากกว่าวิธีการทางธรรมชาติ
บทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงการทำ IUI เพื่อความเข้าใจถึงกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการ IUI ที่มีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง และความเหมาะสมสำหรับคู่รัก รวมทั้งการเตรียมตัวรักษา เพื่อประกอบการตัดสินใจของคู่รักที่อยากมีลูก
การทำ IUI คืออะไร
IUI : Intrauterine insemination หรือการฉีดเชื้อผสมเทียม เป็นการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก จัดว่าเป็นวิธีที่มีความใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติมากที่สุด เพราะ IUI คือการนำอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นตัวที่แข็งแรงฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่ โดยตัวอสุจิจะว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ที่ท่อนำไข่เอง วิธีการรักษา IUI เป็นการสร้างโอกาสให้อสุจิได้ผสมกับไข่ได้ง่ายกว่าปกติ เพิ่มเปอร์เซ็นต์การประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ ซึ่งการทำ IUI ฝ่ายชายควรมีตัวอสุจิที่แข็งแรงหลังการผ่านการคัดกรองแล้ว 5-10 ล้านตัวขึ้นไป หากมีน้อยกว่านั้นโอกาสตั้งครรภ์จะน้อยตามไปด้วย
การรักษาแบบ IUI จะใช้เมื่อใด
การฉีดเชื้อผสมเทียมเป็นการรักษาเบื้องต้นของการรักษาภาวะมีบุตรยากจากหลายสาเหตุ เช่น ฝ่ายชายมีความผิดปกติ โดยมีจำนวนอสุจิน้อยหรือการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง ฝ่ายหญิงมีภาวะปากมดลูกที่ไม่เป็นมิตร และมีปัญหามูกปากมดลูก คู่สมรสที่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากพิการ บาดเจ็บ หรือมีปัญหาอื่น เช่น หลั่งเร็วเกินไป…
Happy couple hand holding white blank space
IUI ICSI IVF ตัวช่วยการรักษาภาวะมีลูกยาก คำตอบของคนอยากมีลูก
การแต่งงาน ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในชีวิตคู่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานสร้างครอบครัวที่ประกอบไปด้วย ‘พ่อ แม่ ลูก’ ดังนั้นการวางแผนครอบครัวจึงมีความสำคัญมาก ก่อนที่คู่รักจะตัดสินใจเข้าประตูวิวาห์ สิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน คือการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับคู่รักที่อยากมีลูกและเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์
ทำไมคู่รักควรตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
ในปัจจุบันแนวโน้มการแต่งงานที่ช้าลง และประกอบกับการแต่งงานในช่วงอายุที่มากขึ้น อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความเครียดในด้านของการทำงาน ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพของคู่รักหลายคู่ต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก หรือมีลูกยาก ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จึงเป็นการเช็คความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกายหรือความบกพร่องทางพันธุกรรม
หากคู่รักมีสุขภาพที่ดี มีความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกาย ก็จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ในการตั้งครรภ์ และทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้แล้วการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ในกรณีที่คู่รักเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก หรือเป็นโรคด้านพันธุกรรม จะช่วยทำให้คู่รักสามารถปรึกษาร่วมกับแพทย์ วางแผนการรักษาและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับบุตรได้ถูกทาง
ประโยชน์การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
1.ลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ช่วยลดความเสี่ยงโอกาสการส่งผ่านโรคสู่กันและกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนไปสู่คู่ชีวิต อีกทั้งลดการส่งผ่านโรคจากแม่สู่ลูกน้อยได้ด้วยเช่นกัน เพราะโอกาสการส่งผ่านโรคสู่กันและกันจะผ่านการมีเพศสัมพันธ์และผ่านทางเลือด เนื่องจากบางโรคอาจจะไม่แสดงอาการเด่นชัดในระยะแรก ๆ แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด เช่น โรคซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ หรือกระทั่งโรคเอดส์ เป็นต้น
2.หลีกเลี่ยงการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม (Genetic…
มีลูกยาก ทำ ICSI กับ GFC เพิ่มโอกาสการสำเร็จการตั้งครรภ์
คู่รักที่ประสบกับภาวะมีบุตรยาก เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์โดยทำ IUI และ IVF แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ การรักษาอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทำ ICSI ซึ่งจะช่วยให้คู่รักสามารถประสบความสำเร็จการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น เนื่องจากโอกาสปฏิสนธิสำเร็จของการทำ ICSI อยู่ที่ 30 – 40% นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาด้วย IUI และ IVF
โอกาสที่คู่รักมีลูกยากและอยากมีลูกประสบความสำเร็จจากการตั้งครรภ์ด้วยการทำ ICSI ที่สูงขึ้น ทำให้ปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย ICSI ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีโรงพยาบาล ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก คลินิกบริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก ให้บริการคำปรึกษาและรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยการทำ ICSI อย่างแพร่หลาย
ทำไมอิ๊กซี่ (ICSI) เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
อิ๊กซี่ (ICSI) หรือ Intracytoplasmic Sperm Injection เป็นการปฏิสนธิที่ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงเซลล์ไข่และอสุจิร่วมกัน แต่เป็นการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง จากนั้นทำการเพาะเลี้ยง แล้วย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูก หลายคนสงสัยว่าโอกาสสำเร็จการตั้งครรภ์ ICSI ถึงสูงกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาด้วย IVF และ IUI ที่ผ่านมาคู่รักคิดว่าการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง จะเกิดการปฏิสนธิได้ 100% แต่การที่อสุจิถูกฉีดเข้าไปในไข่ เซลล์ไข่อาจไม่ได้แบ่งตัวและกลายเป็นตัวอ่อน การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย ICSI นักวิทยาศาสตร์ ดำเนินการตรวจสอบไข่ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิสนธิ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อประเมินโครงสร้างภายในไข่อยู่ในระยะการพัฒนาหรือไม่ และจะดำเนินการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดจำนวน 1 ตัว ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ…
การฝากไข่ ถือว่าเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาภาวะมีบุตรยากของคู่รักที่อยากมีลูก รวมทั้งคู่รักที่ยังไม่พร้อมมีลูกและรอการสร้างอนาคตในวันข้างหน้า จึงต้องการฝากไข่ เก็บไข่ ไว้เพื่อลดความเสี่ยงการมีลูกยาก เพราะเมื่อผู้หญิงมีอายุโดยเฉลี่ยที่ 35 ปีขึ้นไป ความเสื่อมของร่างกายก็มากขึ้นทำให้โอกาสในการมีลูกก็ยาก
ปัจจุบันการฝากไข่จึงเริ่มได้ความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะคู่รักที่ยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และต้องการวางแผนครอบครัว โดยกำหนดช่วงเวลาความพร้อมในการตั้งครรภ์ หรือต้องการทำเด็กหลอดแก้วในอนาคต จึงมีความสนใจการฝากไข่ หรือ การแช่แข็งเก็บรักษาเซลล์ไข่ (Egg Freezing)
การฝากไข่ หรือEgg Freezingคืออะไร
ฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation หรือ Egg Freezing) คือ การนำเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอยู่ภายในร่างกาย ออกมาแช่แข็งไว้เพื่อหยุดอายุเซลล์สืบพันธ์ ป้องกันการเสื่อมสภาพตามอายุ เพราะแม้ว่าผู้หญิงที่เข้าสู่วัยรุ่นในแต่ละเดือนจะมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งเซลล์ไข่นี้ถูกสร้างตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์ถึง 6-7 ล้านฟอง แต่เมื่อทารกเพศหญิงคลอดออกมาแล้วจะเหลือไข่เพียง 2 ล้านฟอง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เซลล์ไข่เหล่านั้นจะเหลือเพียง 2-5 แสนฟอง และจะมีเซลล์ไข่ที่ทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น ส่วนไข่ใบอื่นๆ จะสลายและฝ่อไป ยิ่งเราอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ยิ่งเสื่อมลง ทำให้เกิดปัญหามีลูกยากและเด็กที่เกิดมาไม่แข็งแรง เหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงหันมาวางแผนมีลูกและเริ่มฝากไข่มากขึ้น เพราะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ แต่ต้องการตั้งครรภ์ในอนาคต และการฝากไข่ยังเป็นทางเลือกของผู้หญิงที่กำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนไข่และคุณภาพเซลล์ไข่ อันเนื่องจากมีโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ในปัจจุบันและรอความพร้อมของร่างกายเพื่อการตั้งครรภ์ในอนาคต
การเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บไข่
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก…
สาเหตุของการเกิดภาวะมีบุตรยาก ภาวะที่กวนใจคู่สามีภรรยาที่อยากมีลูก
มีคำกล่าวที่ว่า “ลูก” คือของขวัญที่มีค่าที่สุดในชีวิต เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ชีวิตมีความพร้อมทั้งในด้านของหน้าที่การงาน ทรัพย์สินเงินทอง และเวลา คู่รักหลายคู่ ๆ ต่างก็อยากที่จะพัฒนาสถานะจากสามีภรรยาไปสู่การเป็นพ่อและแม่กันมากขึ้น อย่างไรก็ตามการจะมีลูกสักคนหนึ่งมาเป็นโซ่ทองคล้องใจเพื่อเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มีคู่รักหลาย ๆ คู่ที่พยายามจะมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติอยู่หลายปีแต่กลับต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรยากจนทำให้ไม่สามารถที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จ วันนี้ Genesis Fertility Center จึงอยากจะขอพาคู่รักที่ต้องการจะก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยว่า ภาวะมีบุตรยากคืออะไร และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คู่รักที่อยากมีลูกไม่สามารถมีลูกได้ตามที่ตั้งใจ
ทำความรู้จักกับภาวะมีบุตรยาก
เชื่อว่าคู่รักหลาย ๆ คู่ที่กำลังพยายามจะมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติอาจจะเคยเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของคำว่า “ภาวะมีบุตรยาก” ว่าจริง ๆ แล้วนั้นเราต้องใช้ระยะเวลาในการพยายามมีลูกมากแค่ไหนถึงจะเรียกว่ากำลังประสบกับภาวะมีบุตรยาก หลักเดือน? หลักปี? หรือหลักหลายปี? ซึ่งถ้าหากพูดถึงการนิยามเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ในทางการแพทย์แล้วนั้น ภาวะมีบุตรยากจะหมายถึงการที่คู่สามีภรรยามีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการคุมกำเนิดกันอย่างสม่ำเสมอ แต่ทว่าฝ่ายหญิงกลับไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือนสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะมีบุตรยากมักจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในเรื่องของอาหารการกิน สุขภาพร่างกาย วิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยมีงานวิจัยระบุไว้ว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นจากฝ่ายชายประมาณ 25% และเกิดขึ้นจากฝ่ายหญิง…
IUI ICSI IVF ตัวช่วยการรักษาภาวะมีลูกยาก คำตอบของคนอยากมีลูก
ปัญหาการมีลูกยาก คือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับคู่รักที่ต้องการเติมเต็มชีวิตคู่และสร้างครอบครัวด้วยการมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว หากคู่ใดเกิดประสบกับปัญหาการมีลูกยากคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อย แต่ในปัจจุบันนวัตกรรมด้านวิทยาการทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คู่รักที่อยากมีลูก สามารถประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีลูกยากและกำลังอยู่ระหว่างการหาข้อมูล และวิธีการรักษา ว่ามีวิธีการอะไรบ้าง บทความนี้จะเป็นตัวช่วยตอบถึงวิธีการต่างๆ ปัจจุบันทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก มีหลายวิธีทั้งการทำ IUI การทำ IVF และการทำ ICSI ซึ่งการเลือกวิธีในการรักษาภาวะมีลูกยากขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีลูกยากที่ตรวจพบเป็นหลัก และพิจารณาปัจจัยอื่นๆเป็นองค์ประกอบร่วม ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการพยายามมีบุตร ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกในการรักษาวิธีอื่นๆ
การทำ IUI : Intrauterine insemination หรือการผสมเทียม
เป็นการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง จัดว่าเป็นวิธีที่มีความใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติมากที่สุด เพราะ IUI คือนำอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นตัวที่แข็งแรงฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่ โดยตัวอสุจิจะว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ที่ท่อนำไข่เอง เป็นการสร้างโอกาสให้อสุจิได้ผสมกับไข่ได้ง่ายกว่าปกติ เพิ่มเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ ซึ่งการทำ IUI ฝ่ายชายควรมีตัวอสุจิที่แข็งแรงหลังการผ่านการคัดกรองแล้ว 1 ล้านตัวขึ้นไป หากมีน้อยกว่านั้นโอกาสตั้งครรภ์จะน้อยลง
การทํา IUI มีขั้นตอนวิธีการทำอย่างไร
การทำ IUI แพทย์จะสอดท่ออ่อนที่บางและยืดหยุ่นเข้าไปทางปากมดลูกเข้าสู่มดลูกของฝ่ายหญิง และใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กเพื่อส่งผ่านสเปิร์มผ่านท่อเข้าไปในมดลูกโดยตรง กระบวนการนี้ถือเป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์อสุจิที่วางอยู่ในมดลูกให้มากที่สุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ซึ่งการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นหากตัวอสุจิปฏิสนธิกับไข่ และไข่ที่ปฏิสนธิฝังอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก การทำ IVF (In-Vitro Fertilization) หรือเรียกกันว่าการทำ…
Pregnant woman with ultrasound photo sitting on bed
หมดปัญหาคาใจ เมื่อคู่รักต้องตัดสินใจรักษาภาวะมีบุตรยาก
ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการแต่งงานของประชากรในประเทศไทยค่อนข้างช้าลง และความพร้อมในการมีลูกของคนในยุคปัจจุบันก็ช้าลงไปด้วยอีกทั้งด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบในชีวิตประจำวัน ภาวะกดดันต่างๆ ในที่ทำงาน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การตั้งครรภ์ตามธรรมชาติเป็นไปได้ยาก
ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นในปัจุบัน ทำให้มีวิธีที่สามารถช่วยให้ผู้ที่กำลังประสบภาวะมีบุตรยากสามารถตั้งครรภ์ได้ ทั้งการทำเด็กหลอดแก้ว หรือที่ทุกคนเคยรู้จักว่าการทำกิ๊ฟ ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาภาวะภาวะมีบุตรยากนั้น ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของคู่รักที่คิดจะมีเจ้าตัวน้อย หลายคนต้้งข้อสงสัยว่า ระหว่างการทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’ หรือ ‘ทำกิ๊ฟ’ การรักษาทั้งสองรูปแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร และรูปแบบไหนดีกว่า ในทางการแพทย์แล้ว การรักษาทั้งสองรูปแบบ ระหว่างการทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’ หรือ การ ‘ทำกิ๊ฟ’ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งสองรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คู่รักต้องศึกษา และพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพื่อผลลัพธ์ปลายทางคือ ความสำเร็จของการตั้งครรภ์
เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ In-Vitro Fertilization (IVF) วิธีการนี้จะคัดเลือกเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายหญิงที่เรียกว่าไข่มาผสมกับเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายชายคืออสุจิในอุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์ เป็นการเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง จนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยะตัวอ่อนวันที่ 5 ซึ่งเรียกว่า ระยะบลาสโตซีสท์…
IVF ‘ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์’ ตัวช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
เมื่อคู่รักต้องประสบกับภาวะมีบุตรยากแต่อยากมีลูก และกำลังอยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้ารับการรักษาร่วมกับแพทย์ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ก็ตาม เพื่อให้คู่รักเข้าใจมากยิ่งขึ้น และทำความรู้จัก ‘ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์’ ตัวอ่อนระยะที่ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในการฝังตัว และเกิดการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
บลาสโตซิสต์ คืออะไร
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เป็นกลุ่มของเซลล์ที่แบ่งตัวจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่นำไปสู่การตั้งครรภ์ ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วัน หลังจากที่อสุจิปฏิสนธิกับไข่ เซลล์ด้านในของบลาสโตซิสต์จะมีการแบ่งเซลล์มากถึง 80 – 120 เซลล์ ซึ่งประกอบไปด้วย เซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์รกที่พร้อมฝังตัวสู่โพรงมดลูก จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะพร้อมฝังตัว และกลายเป็นโครงสร้างที่ปกป้องและบำรุงเลี้ยงทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เป็นชื่อเรียกของระยะตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิและเจริญเติบโตในระยะเวลา 5-6 วัน ซึ่งบลาสโตซิสต์จากการทำ IVF/ICSI นั้นจะถูกเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่ดีและมีคุณภาพ โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเพาะเลี้ยงต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง สารอาหาร(น้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน) และ อากาศ(ก๊าซ)ที่เหมาะสม เป็นระยะเวลา 5-6 วัน จนได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ที่แข็งแรงและเหมาะสมจึงย้ายกลับไปเพื่อฝังตัวเข้าสู่โพรงมดลูก
บลาสโตซิสต์มีความสำคัญอย่างไรต่อการตั้งครรภ์
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ เป็นตัวอ่อนระยะที่สำคัญอย่างยิ่งและมีผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนและทารกในครรภ์ หากตัวอ่อนไม่ฝังในเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง…
คู่ของเราถือว่ามีบุตรยากแล้วหรือยังนะ ?
คู่สมรสหลายคู่มีคำถามที่คาใจว่าต้องอยู่ด้วยกันมานานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคู่สมรสที่มีบุตรยาก คู่ของเราถือว่าเข้าเกณฑ์แล้วหรือยัง แล้วเมื่อไหร่นะที่ถึงเวลาที่ควรจะไปพบแพทย์ได้แล้ว และเราควรจะเริ่มกระบวนการเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF / ICSI เลยหรือไม่ คู่สมรสจะถือว่ามีภาวะมีบุตรยากก็ต่อเมื่อแต่งงานอยู่ด้วยกันมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยไม่ได้คุยกำเนิดเลยมานานกว่า 1 ปี แล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถึงจะเรียกว่าคู่ของคุณมีภาวะมีบุตรยาก หากถามว่าเมื่อไหร่ควรจะมาปรึกษาคุณหมอแล้ว จริงๆต้องบอกว่าการตรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการมีบุตรสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่เกณฑ์ภาวะมีบุตรยาก เหมือนเป็นการ check up ร่างกายเบื้องต้นไว้ก่อนว่าเรามีแนวโน้มที่จะมีบุตรยาก หรือมีโรคอะไรที่ต้องเตรียมตัวก่อนจะมีบุตรหรือไม่ หรือร่างกายยังขาดภูมิคุ้มกันใดบ้างที่ต้องรีบฉีดวัคซีนไว้ก่อนจะปล่อยมีบุตร แต่ในกรณีที่เราเข้าเกณฑ์ภาวะมีบุตรยากแล้วก็ไม่ควรรอช้า สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากหรือแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้เลยส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากแนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เลยคือกลุ่มหญิงที่แต่งงานและอายุเกิน 35 ปีแล้ว เมื่อตั้งใจปล่อยมีบุตรไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 1 ปี เพียงแค่ 6 เดือนหากปล่อยแล้วลูกยังไม่มาตามนัด แนะนำให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับคุณหมอได้เลย เพราะยิ่งปล่อยให้นานไปอายุที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้จำนวนไข่และที่สำคัญคือคุณภาพไข่ลดน้อยถอยลงไปทุกที หากคู่ใดรู้ตัวว่าเริ่มเข้าเกณฑ์จะมีลูกยากแล้วก็อย่ารอช้า รีบเดินหน้าปรึกษาแพทย์เพื่อลูกน้อยที่น่ารักของเรากันค่ะ
ก่อนเข้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
อันที่จริงแล้วไม่อยากให้คนไข้กังวลมากว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ช่วงไหนถึงพบแพทย์ได้ ต้องรอมีประจำเดือนมาก่อนหรือไม่ เพราะในครั้งแรกที่ต้องการเข้าปรึกษาคุณหมอ แนะนำเอาฤกษ์สะดวกจะดีที่สุด เพราะฝ่ายหญิงถึงแม่ไม่ใช่วันที่ประจำเดือนมา คุณหมอสามารถตรวจอัลตราซาวด์เบื้องต้นเพื่อประเมินมดลูกและรังไข่ก่อนได้ว่ามีโรคหรือภาวะอะไรที่ต้องแก้ไขก่อนการมีบุตรหรือไม่ ส่วนฝ่ายชายเองตามหลักแล้วควรงดหลั่งน้ำอสุจิก่อนมาเก็บตรวจเป็นเวลา 3-5 วัน แต่หากคุณผู้ชายมีภาระงานมาก หรือไม่สะดวกในการเดินทางไปมาหลายครั้งก็สามารถเก็บน้ำอสุจิตรวจได้แม้ไม่ได้งดหลั่งน้ำอสุจิมาตามเกณฑ์ก็ตาม หากคุณหมอแนะนำให้เจาะเลือดก่อนเริ่มการรักษาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องงดน้ำงดอาหารมาก่อนสามารถเจาะเลือดได้เลย เนื่องจากในการพบแพทย์ครั้งแรกเราจะเน้นไปที่การพูดคุย ตรวจร่างกายและตรวจเลือดเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากและวางแนวทางการรักษาต่อไป…
หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อของคนโบราณที่บอกว่า ถ้าคนท้องนั่งขวางบันไดแล้วจะคลอดลูกยาก …อ่านต่อ
ผลการวิจัยจากหลากหลายสถาบันพบว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะเดินทางของคุณแม่จะสามารถลดความเสี่ยง …อ่านต่อ