ระยะเวลาในการเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อทำเด็กหลอดแก้วกับโอกาสในการตั้งครรภ์
สำหรับคู่สามี-ภรรยาที่กำลังต่อสู้กับภาวะมีบุตรยาก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือที่หลาย ๆ คนมักจะรู้จักกันในชื่อของการทำเด็กหลอดแก้ว, การทำ IVF (In-vitro Fertilization) หรือการทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) คือ หนึ่งในเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่สามารถช่วยมอบความหวังและสานต่อความฝันให้กับครอบครัวที่อยากมีลูกได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการแล้วนั้น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF / ICSI) ก็ย่อมมาพร้อมด้วยขั้นตอนสำคัญมากมายที่คู่สามี-ภรรยาที่กำลังประสบกับภาวะมีบุตรยากจะต้องศึกษาทำความเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อม โดยหนึ่งในนั้น คือ ขั้นตอนของ “การเลี้ยงดูตัวอ่อน” เพื่อช่วยให้ไข่ที่ได้ผสมกับสเปิร์มเป็นที่เรียบร้อยแล้วมีความพร้อมสำหรับการฝังตัวในมดลูก เพราะฉะนั้นแล้วในวันนี้ Genesis Fertility Center (GFC) จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อทำเด็กหลอดแก้วมาฝากว่าที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่กันในบทความนี้
การเลี้ยงตัวอ่อน คืออะไร?
หลังจากที่คู่สามี-ภรรยาที่กำลังประสบกับภาวะมีบุตรยากได้ผ่านขั้นตอนของการเก็บเซลล์ไข่และคัดเชื้ออสุจิมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ทางทีมแพทย์ก็จะเริ่มต้นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งในรูปแบบ IVF และ ICSI โดยการนำเซลล์ไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกันภายในห้องปฏิบัติการจนได้ออกมาเป็นตัวอ่อน ก่อนที่ตัวอ่อนเหล่านี้จะถูกนำไปเพาะเลี้ยงโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ ภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ก๊าซ และความเป็นกรด-ด่าง ให้อยู่ในสภาวะที่ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายของมนุษย์มากที่สุด เพื่อเป้าหมายที่สำคัญในการช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบโตของตัวอ่อนให้อยู่ในระยะที่จะสามารถฝังตัวในมดลูกและช่วยทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากเพิ่มสูงขึ้น
การเลี้ยงตัวอ่อนมีกี่ระยะ ?…
