ตัวอ่อนระยะ 3 วัน 5 วัน ระยะไหนเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทำ ICSI มากกว่ากัน
เลือกย้ายตัวอ่อนใดดีระหว่างระยะ 3 วัน VS 5 วัน ระยะไหนมีโอกาสสำเร็จในการทำ ICSIมากกว่า
ความหวังของคู่รักที่ประสบกับภาวะมีลูกยากและอยากมีลูก ในทุกกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi ทำ ivf ล้วนมีความสำคัญแทบทั้งสิ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ รวมถึงขั้นตอนการเลือกตัวอ่อนในระยะ 3 หรือ 5 วัน จึงทำให้บ่อยครั้งที่คู่รักมักจะตั้งคำถามว่า การย้ายตัวอ่อนระยะ 3 วันหรือ 5 วัน แบบไหนเพิ่มโอกาสความสำเร็จมากกว่ากัน
สำหรับในทางการแพทย์ การย้ายตัวอ่อนระยะ 5 วัน ย่อมส่งผลให้อัตราการฝังของตัวอ่อนดีขึ้นกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการย้ายตัวอ่อนระยะ 3 วัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การย้ายตัวอ่อนระยะ 5 วัน จะสามารถรักษากับผู้มีบุตรยากทุกราย
ทำความรู้จักบลาสโตซิสต์ คืออะไร
บลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เป็นชื่อเรียกของระยะตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิและเจริญเติบโตในระยะเวลา 5-6 วัน โดยเป็นกลุ่มของเซลล์ที่แบ่งตัวจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนด้านในของบลาสโตซิสต์จะมีการแบ่งเซลล์มากถึง 80 – 120 เซลล์ โดยประกอบไปด้วย เซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์รกที่พร้อมฝังตัวสู่โพรงมดลูก จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะพร้อมฝังตัว และกลายเป็นโครงสร้างที่ปกป้องและบำรุงเลี้ยงทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา
สำหรับบลาสโตซิสต์ การทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf และทำicsi นั้นจะถูกเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่ดีและมีคุณภาพ โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์ดูแลใกล้ชิด เพราะต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง สารอาหาร และอากาศที่เหมาะสม จนได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ที่แข็งแรงและเหมาะสมจึงย้ายไปเพื่อฝังตัวเข้าสู่โพรงมดลูก
ย้ายตัวอ่อนระยะ 3 หรือ 5 วันแบบไหนดีกว่า
แบบที่ 1 : ตัวอ่อนระยะ 3 วัน (คลีเวจ Cleavage) ส่วนใหญ่จะผ่านการแบ่งตัว 2-3 รอบ โดยประกอบด้วยเซลล์ 6 ถึง 10 เซลล์ หรืออาจจะมีเพียงแค่ 4 เซลล์ โดยมีการศึกษาจะพบว่า ตัวอ่อนที่มีเซลล์ตั้งแต่ 8 เซลล์ขึ้นไปในระยะ 3 วันจะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าเอ็มบริโอในระยะ 3 วันที่มีเซลล์น้อยกว่า
ตัวอ่อนอายุ 3 วันหรือระยะคลีเวจ (Cleavage) ในระยะนี้เซลล์ของตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัวภายในไข่ซึ่งยังมีขนาดเท่าเดิมเหมือนตอนที่ยังไม่ปฏิสนธิ แพทย์จะประเมินรูปร่างและโครงสร้างของตัวอ่อนและทำการให้คะแนนโดยอิงจากจำนวนเซลล์และรูปร่าง
อย่างไรก็ตามหากผู้ที่มีบุตรยากที่มีข้อจำกัด เรื่องการเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกาย หรือตัวอ่อนมีโอกาสพัฒนาไปถึงระยะ 5 วัน (Blastocyst) ได้น้อย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงจะพิจารณาใส่ตัวอ่อนกลับในระยะนี้ เนื่องจากเป็นผลดีกว่าที่รอไปถึงระยะต่อไปที่ตัวอ่อนมีโอกาสหยุดเจริญเติบโตได้
สำหรับที่ GFC แพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนระยะ 5 วัน ของผู้มีบุตรยากและอยากมีลูก เพื่อตัวอ่อนจะเพิ่มโอกาสในการที่จะฝังตัว และเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์
แบบที่ 2 : ตัวอ่อนอายุ 5 วันหรือตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)
ในระยะนี้มวลเซลล์ชั้นในหรือ (Inner Cell Mass – ICM) ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นทารก และเซลล์รอบ ๆ (Trophectoderm Epithelium – TE) ซึ่งจะกลายไปเป็นรกและเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ผนังเซลล์ไข่ (Zona Pellucida) พร้อมที่จะแตกออกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวในมดลูก การคัดเกรดตัวอ่อนอายุ 5 วันจะวัดจากการขยายตัวของตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ คุณภาพของ Inner Cell Mass และคุณภาพของ Trophectoderm
การขยายตัวของตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ (Expansion of Blastocyst)
โดยจะวัดบลาสโตซีล (Blastocoel) หรือช่องกลวงในบลาสโตซิสต์ และให้คะแนนเป็นลำดับ 1-6 โดยลำดับ 6 จะหมายถึงการเจริญเติบโตมากที่สุด
เกรด 1 Early Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรน้อยกว่าตัวอ่อนครึ่งหนึ่ง
เกรด 2 Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรมากกว่าตัวอ่อนครึ่งหนึ่ง
เกรด 3 Full Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรเต็มตัวอ่อน
เกรด 4 Expanded Blastocyst บลาสโตซีลใหญ่กว่าตัวอ่อน ผนังเซลล์ไข่บางลง
เกรด 5 Hatching Blastocyst ส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกเริ่มโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่
เกรด 6 Hatched Blastocyst ส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่เสร็จสมบูรณ์
คุณภาพของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารก (Inner Cell Mass)
Inner Cell Mass เป็นกลุ่มเซลล์ภายในบลาสโตซิสต์ซึ่งจะกลายเป็นทารกในครรภ์ การให้คะแนนจะใช้ตัวอักษร A, B, และ C โดย A คือคุณภาพดีที่สุดและ C คือคุณภาพต่ำสุด
เกรด A: เซลล์เกาะเป็นกลุ่มก้อนเห็นได้ชัด มีแนวโน้มที่จะฝังตัวและเติบโตไปเป็นทารกได้สำเร็จ
เกรด B: เซลล์เกาะกลุ่มกันหลวม ๆ
สำหรับการย้ายตัวอ่อนระยะ 5 วัน แนวโน้มสูงที่จะมีโครโมโซมปกติและมีสุขภาพดี หากตัวอ่อนมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมและแข็งแรงพอในห้องปฏิบัติการได้ 5 วัน ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการฝังตัวจะคล้ายกับธรรมชาติหรืออยู่ในช่วงหลังจากมีเพศสัมพันธุ์
จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวอ่อนหลังการย้าย
เมื่อการถ่ายโอนเสร็จสมบูรณ์ อาจใช้เวลาประมาณ 9 ถึง 14 วันในการตรวจพบการตั้งครรภ์ 14 วันหลังการย้ายถือเป็นการรอ 2 สัปดาห์ โดยแนะนำว่าคู่รักไม่ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนครบสองสัปดาห์เต็ม ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการย้ายตัวอ่อนในแต่ละวัน มีดังนี้
- วันที่ 1 และ 2: บลาสโตซิสต์ฟักออกจากเปลือกและเริ่มพยายามเกาะติดกับมดลูก
- วันที่ 3: การฝังตัวเริ่มต้นเมื่อบลาสโตซิสต์เคลื่อนลึกเข้าไปในเยื่อบุมดลูก
- วันที่ 4 และ 5: กระบวนการดำเนินต่อไปและเสร็จสมบูรณ์ เซลล์ที่จะเป็นรกและทารกในครรภ์เริ่มมีการพัฒนา
- วันที่ 6: ฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) เริ่มผลิต
- วันที่ 7 และ 8: การพัฒนาดำเนินต่อไป และมีการหลั่ง hCG เข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น
- วันที่ 9: ระดับ hCG อาจสูงพอที่จะตรวจพบการตั้งครรภ์
เปรียบเทียบอัตราความสำเร็จการตั้งครรภ์
- การย้ายตัวอ่อนระยะ 3 วัน
- มีอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนแต่ละตัวอยู่ที่ 21%
- อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 61%
- อัตราการตั้งครรภ์แฝดอยู่ที่ 47.1%
- การย้ายตัวอ่อนระยะ 5 วัน :
- อัตราการฝังตัวของตัวอ่อนแต่ละตัวอยู่ที่ 24%
- อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 71%
- อัตราการตั้งครรภ์แฝดที่ต่ำกว่า อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 34.8%
การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน
- การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหลังการใส่ประมาณ 1-2 ชั่วโมงสามารถเดินทางกลับบ้านได้
- งดการมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
- สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- งดการออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่งมารธอน เป็นต้น
- งดรับประทานยานอกเหนือจากที่แพทย์กำหนด หรือปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา
หากคุณเป็นคู่รักที่กำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากรในการทำกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคา 190,000บาท และราคาฝากไข่ หรือ egg freezing 150,000 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.