ทำความรู้จักการแบ่งเกรดตัวอ่อน คลินิกมีบุตรยากใช้เกณฑ์อะไรวัด
การแบ่งเกรดตัวอ่อนและอัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว ทํา icsi ivf เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยที่สุดเมื่อคู่รักที่มีบุตรยาก และยากมีลูก ตัดสินใจเข้ามาใช้บริการคลินิกมีบุตรยาก เพราะการแบ่งเกรดตัวอ่อน ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จการตั้งครรภ์ เนื่องจากการแท้งบุตร 60% เกิดจากความผิดปกติของตัวอ่อน
การแบ่งเกรดตัวอ่อนเพื่อทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร
การแบ่งเกรดตัวอ่อน เป็นวิธีการช่วยคัดเลือก และประเมินคุณภาพตัวอ่อนสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว ทํา icsi ivf โดยการแบ่งเกรด หรือให้คะแนนตัวอ่อน จะทำในตัวอ่อน 2 ระยะ ได้แก่
- การทำในวันที่ 3 (Day 3) เรียกว่าระยะคลีเวจ (Cleavage) นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนเรียกระยะนี้ว่า “ระยะแตกแยก” แต่เซลล์จะไม่มีขนาดเพิ่มขึ้น
- การทำในวันที่ 5 (Day 5) เรียกว่า ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) หลังเก็บไข่ โดยแพทย์จะประเมินระดับความพร้อมของตัวอ่อนแต่ละตัว และเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก
การคัดเกรดตัวอ่อนมีประโยชน์หรือไม่?
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าเอ็มบริโอที่มีเกรดสูงกว่าจะมีอัตราการตั้งครรภ์และอัตราเกิดยังชีพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับตัวอ่อนที่มีเกรดต่ำ ซึ่งประโยชน์ของการคัดเกรดตัวอ่อนมี ดังนี้
- การเลือกเอ็มบริโอคุณภาพดีจะให้ทนต่อการรักษาได้หลายประเภท เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ PGT และการเก็บรักษาด้วยการแช่แข็งไข่ หรือ egg freezing และการละลาย
- ช่วยคลินิกมีบุตรยาก สามารถเลือกตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำ ว่าตัวอ่อนตัวไหนเหมาะที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก
- ช่วยเลือกวันที่ดีที่สุดสำหรับการย้ายตัวอ่อน รวมถึงปริมาณตัวอ่อนที่เหมาะสมที่จะย้าย
โดยปกติแล้วการทำเด็กหลอดแก้ว ทํา icsi ivf เอ็มบริโอมักจะถูกฝังเข้าไปในมดลูกในวันที่ 3 (ระยะแยกตัว) หรือ 5 (ระยะบลาสโตซิสต์) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาลักษณะบางอย่างของเอ็มบริโอ เช่น มวลเซลล์ชั้นใน (ICM), Trophectoderm (ชั้นเซลล์ของรก เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มที่ล้อมรอบเอ็มบริโอ) และระดับของการขยายตัวของบลาสโตซิสต์ เพื่อระบุเอ็มบริโอที่มีชีวิต
ทำความรู้จักตัวอ่อนระยะคลีเวจ Cleavage
การทำในวันที่ 3 เรียกว่าตัวอ่อนระยะ คลีเวจ Cleavage เป็นระยะที่ตัวอ่อนเกิดการแบ่งตัว แต่เซลล์จะไม่มีขนาดเพิ่มขึ้น ตัวอ่อนยังคงมีขนาดเท่ากับไข่ที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังสูงเพื่อดูลักษณะทางสัณฐานวิทยา เอ็มบริโอที่แบ่งตัวได้ดีควรมีเซลล์ระหว่าง 6 ถึง 10 เซลล์ในวันที่ 3 ResearchTrusted Source แสดงให้เห็นว่า 8 เซลล์ดีที่สุด (เอ็มบริโอวันที่ 3 ที่มีเซลล์ 8 เซลล์ขึ้นไปแสดงอัตราการเกิดมีชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ)
ระยะคลีเวจ Cleavage จะเป็นระยะหลังไข่กับสเปิร์มของผู้ที่มีบุตรยากจะผสมกันแล้ว 24 – 72 ชั่วโมงเป็นระยะที่ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24 ชั่วโมงเป็นต้นไปจนถึงไม่เกินวันที่ 4 โดยสามารถแบ่งเกรดโดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลจากเกณฑ์การให้คะแนนตัวอ่อนของ Istanbul Consensus Scoring System 2011 ซึ่งจะมีการพิจารณาจากรูปร่างความสมมาตรของเซลล์ที่พบแบ่งเกรดระยะเป็น 3 กลุ่ม โดยเกรด 1 จะหมายถึงการเจริญเติบโตมากที่สุด ได้แก่
- เกรด 1 คือตัวอ่อนที่มี blastomeres เป็นการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เป็นรูปร่างกลม มีขนาดเท่ากัน และรูปร่างใกล้เคียงกัน ไม่มีเศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อน (Fragmentation) หรือหากมีก็น้อยกว่า 10 % ถือว่าอยู่ในเกรด 1 ซึ่งตัวอ่อนกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มสูงที่จะเจริญเติบโตเป็นระยะบลาสโตซิสท์
- เกรด 2 คือตัวอ่อนที่มี blastomeres เป็นการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เซลล์มีขนาดแตกต่างเพียงเล็กน้อย มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากันบ้าง และมีเศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อน (Fragmentation) พบอยู่ประมาณ 25-50%
- เกรด 3 ตัวอ่อนมี blastomeres เป็นการแบ่งตัวของเซลล์ที่ขนาดไม่เท่ากัน มีเศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อน (Fragmentation) มากกว่า 50% ซึ่งอาจจะหาเซลล์ของตัวอ่อนจริงๆ ไม่พบเลยของคู่รักที่มีบุตรยาก แต่หากเลี้ยงต่อเกรด 3 ก็ยังมีโอกาสเติบโตเป็นบลาสโตซิสท์ แม้ว่าเซลล์ของตัวอ่อนอาจจะไม่สวยมากหรือไม่สมบูรณ์มากนัก
ทำความรู้จักการแบ่งเกรดตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ Blastocyst
เป็นระยะที่มีตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ 5-6 วันหลังจากที่ไข่กับสเปิร์มผสมกันของคู่รัก ทํา icsi ivf โดยเมื่อเราเลี้ยงตัวอ่อนถึง 5-6 วัน ก็จะมีการเกรดตัวอ่อนอีกครั้ง โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันในการคัดเกรดของ Gardner and Schoolcraft 1999 โดยจะวัดบลาสโตซีล (Blastocoel) หรือช่องกลวงในบลาสโตซิสต์ และให้คะแนนเป็นลำดับ 1-6 โดยลำดับ 6 จะหมายถึงการเจริญเติบโตมากที่สุด
- เกรด 1 Early Blastocyst คือ บลาสโตซีลมีปริมาตรน้อยกว่าตัวอ่อนครึ่งหนึ่ง
- เกรด 2 Blastocyst คีือ บลาสโตซีลมีปริมาตรมากกว่าตัวอ่อน 1 ใน 3
- เกรด 3 Full Blastocyst คือ บลาสโตซีลมีปริมาตรเต็มตัวอ่อน
- เกรด 4 Expanded Blastocyst คือ บลาสโตซีลใหญ่กว่าตัวอ่อน ผนังเซลล์ไข่บางลง
- เกรด 5 Hatching Blastocyst เป็นส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกเริ่มโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่
- เกรด 6 Hatched Blastocyst เป็นส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่เสร็จสมบูรณ์
โอกาสความสำเร็จของการตั้งครรภ์จากการคัดเกรด
การคัดเกรดตัวอ่อนที่ได้คะแนนสูง ไม่ได้หมายความว่าคู่รักที่มีลูกยาก และอยากมีลูก โดยทำเด็กหลอดแก้วจะประสบความสำเร็จการตั้งครรภ์จากการคัดเกรดตัวอ่อน หรือกระทั่งตัวอ่อนที่ได้คะแนนต่ำจะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อได้ เพราะยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย เช่น
- การคัดเกรดไม่ได้การันตีผลสำเร็จการตั้งครรภ์ ทํา icsi ivf ถึงแม้ว่าคะแนนที่สูงจะสัมพันธ์กับอัตราการตั้งครรภ์ และการเกิด แต่การคัดเกรดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถการันตีผลสำเร็จ ตัวอ่อนที่ได้คะแนนต่ำอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จ และเด็กที่เกิดมาก็มีสุขภาพแข็งแรงได้เช่นเดียวกัน
- การพัฒนาของตัวอ่อน หลังการคัดเกรด ตัวอ่อนอาจเจริญเติบโตมากขึ้น เช่น ตัวอ่อนที่มี Inner Cell Mass เกรด C อาจจะเติบโตจนเป็นเกรด A ภายในวันเดียวกัน หรือตัวอ่อนที่มีการขยายตัวอยู่ในขั้นที่ 1 อาจพัฒนาเป็นขั้นที่ 6 ภายในวันเดียว ดังนั้นคุณภาพของตัวอ่อนอาจดีขึ้นได้
- ตัวแปร และความไม่แน่นอน การคัดเกรดเป็นเครื่องมือเพื่อประเมินคุณภาพของตัวอ่อนเท่านั้น ไม่ได้ประเมินปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการฝังตัวในมดลูก และการตั้งครรภ์ การจัดลำดับตัวอ่อนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจในการทำเด็กหลอดแก้ว
สรุปการคัดเกรดตัวอ่อน เป็นเครื่องมือสำหรับคลินิกมีบุตรยากใข้ในการพิจารณาว่า เอ็มบริโอตัวใดมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จมากที่สุด เพราะการแบ่งระดับเซลล์เอ็มบริโอมีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยเอ็มบริโอที่อยู่ในเกรดที่สูงจะมีอัตราความสำเร็จ 65% ส่วนเกรดเฉลี่ยระดับกลางจะสามารถเห็นอัตราการตั้งครรภ์ 50% ส่วนเกรดต่ำจะมีอัตราความสำเร็จน้อยกว่า 33%
หากคุณเป็นคู่รักที่กำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ุให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์ และบุคลากรในการทำกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคา 190,000บาท ราคาฝากไข่ หรือ egg freezing 150,000 บาท และมีบริการแบ่งเกรดตัวอ่อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.