Skip to content Skip to footer

ข้อกฏหมายสำหรับการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศไทย

ข้อกฏหมายสำหรับการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศไทย

ทำความรู้จักข้อกฎหมายการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำ ivf ทำ icsi

ปัจจุบันมีคู่รักหลายคู่ที่เผชิญกับภาวะมีบุตรยาก การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์จึงกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากมีลูก ดังนั้นกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จึงเป็นเรื่องที่คู่รักต้องทำความรู้จัก และศึกษาให้ดี เพื่อกำหนดสถานะความพ่อ และแม่ ที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

ทำไมทำเด็กหลอดแก้วต้องรู้กฎหมาย และข้อบังคับ

การมีกฎหมายสำหรับการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากในประเทศไทย เป็นการสร้างกรอบการดำเนินงานที่เป็นธรรม เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่มีบุตรยาก ช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา รวมถึงป้องกันการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดกฎหมาย ตลอดจนการแสวงหาผลประโยชน์ รวมถึงการเกิดปัญหาทางสังคม และที่สำคัญเพื่อเป็นป้องกันการละเมิดสิทธิ และรักษาจริยธรรมทางการแพทย์ในการดำเนินการด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi โดยกฎหมายการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มีข้อบังคับ ดังนี้

1.พระราชบัญญัติการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

  • กำหนดหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์และจริยธรรม
  • ระบุว่าเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi สามารถใช้ได้กับคู่สมรสที่มีปัญหาการมีบุตรยากเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส
  • กำหนดข้อห้ามในการให้บริการการรักษาผู้มีบุตรยากสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปี

2.ข้อกำหนดทางจริยธรรม

  • การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi ต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์ เช่น การไม่สร้างพันธุกรรมตามคำขอของคู่สมรสหรือบุคคลอื่น
  • ห้ามเลือกเพศของบุตร ยกเว้นในกรณีที่เป็นไปเพื่อการป้องกันโรคพันธุกรรมที่มีผลต่อเพศของบุตร

3.การขออนุญาตและการตรวจสอบ

  • คลินิกหรือโรงพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
  • มีการตรวจสอบ และกำกับดูแลโดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมาตรฐานทางการแพทย์

4.สิทธิและความรับผิดชอบของคู่สมรส

  • คู่สมรสที่ต้องการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi ต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
  • การบริจาคไข่หรือสเปิร์มจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริจาค และผู้รับบริจาค โดยผู้บริจาคต้องไม่เรียกร้องค่าตอบแทน

รู้ลึกข้อบังคับทางกฎหมายใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

ข้อบังคับทางกฎหมายคุณสมบัติผู้ทำเด็กหลอดแก้วและสถานพยาบาล

  • การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีฉีดเชื้อ หรือทำ iui หรือทำเด็กหลอดแก้ว ทำ ivf ทำ icsi ต้องมีทะเบียนสมรส
  • ไข่,สเปิร์ม และตัวอ่อน ไม่สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้
  • คู่สมรสที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทนต้องมีข้อบ่งชี้ว่าไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ฝ่ายหญิงอายุไม่เกิน 55 ปีและต้องมีสัญชาติไทย ถ้าแต่งงานกับต่างชาติต้องจดทะเบียนสมรสมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • คลินิกมีบุตรยากหรือโรงพยาบาลที่ให้บริการต้องมีการรับรองมาตรฐานจากกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ มีการตรวจเยี่ยมเพื่อต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี ต้องส่งข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมและข้อมูลทางสถิติทุกปี

ข้อบังคับทางกฎหมายคุณสมบัติผู้บริจาคไข่

  • ผู้ที่บริจาคไข่ให้กับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากต้องมีอายุ 20-35 ปี และสำหรับกรณีเป็นญาติสืบสายโลหิตได้ถึงอายุ 40 ปี ต้องมีหรือเคยมีทะเบียนสมรส (ยกเว้นเป็นญาติสืบสายโลหิต) และต้องสัญชาติเดียวกับคู่สมรส (หรือสัญชาติเดียวกับสัญชาติเดิมของคู่สมรส)
  • บริจาคได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และผู้บริจาคต้องได้รับการตรวจเลือด ทำอัลตร้าซาวนด์ ก่อนเริ่มการกระตุ้นรังไข

ข้อบังคับทางกฎหมายคุณสมบัติผู้บริจาคอสุจิ

  • ผู้บริจาคอสุจิให้กับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากต้องมีอายุ 20-45 ปี และหากมีภรรยาตามกฎหมาย ต้องมีหนังสือยินยอม
  • บริจาคแล้วมีเด็กคลอดมาไม่เกิน 10 ครอบครัว (ผู้บริจาคต้องมารพ.หรือตรวจเลือด,ตรวจอสุจิ อสุจิที่บริจาคจะถูกแช่แข็งไว้ 6 เดือน และผู้บริจาคต้องตรวจเลือดหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกครั้ง จึงจะนำอสุจิไปใช้ได้)
  • ผู้บริจาคอสุจิให้กับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยา ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติด เสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคทางพันธุกรรม หรืิิอโรคติดต่อร้ายแรง (เช่น HIV หรือ AIDS)

ข้อบังคับทางกฎหมายการแช่แข็งไข่ (egg freezing)

  • ก่อนการแช่แข็งไข่ ผู้มีบุตรยากต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม” และต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกไข่ที่ “ติดเชื้อ” ออกจากไข่ที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
  • อาจไม่สามารถใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้ หรือเมื่อต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากภรรยาก่อนเสียชีวิตและต้องรายงานกระทรวงสาธารณสุข หากต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้ว

ข้อบังคับทางกฎหมายผู้หญิงตั้งครรภ์แทน

  • หญิงตั้งครรภ์แทนผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก ต้องมีอายุ 20-40 ปี และต้องมีสัญชาติเดียวกับคู่สมรส (สามีหรือภรรยา)
  • หญิงตั้งครรภ์แทนเคยมีบุตรมาแล้ว โดยคลอดธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง และได้รับความยินยอมจากสามีตามกฎหมายหรือชายที่อยู่กินกัน รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์แทนรับตั้งครรภ์แทนจนคลอดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ตั้งครรภ์แทนต้องมีการส่งเอกสารต่างๆไปที่ กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้ และเมื่อคลอดบุตรแล้วให้นำเอกสารไปแจ้งเกิดที่เขต คู่สมรสจะได้เป็นบิดาและมารดาตามกฎหมาย

ข้อบังคับทางกฎหมายการแช่แข็งตัวอ่อน

  • คู่รักที่มีบุตรยาก และอยากมีลูก ที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อนทั้งสามี และภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม” และต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV หรือไม่มีเชื้อ HIV) สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
  • ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส โดยไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้

สรุป พระราชบัญญัติการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความยุติธรรม และจริยธรรมในการรักษาผู้มีบุตรยาก รวมถึงการป้องกันการละเมิดสิทธิ์ของคู่สมรสและบุตรที่จะเกิดขึ้น

หากคุณเป็นคู่รักที่กำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว ฝากไข่ เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์ และบุคลากรในการทำกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคา 190,000บาท ราคาฝากไข่ หรือ egg freezing 150,000 บาท และมีบริการแบ่งเกรดตัวอ่อน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.