คุณแม่ควรตรวจฮอร์โมนอะไรก่อนไปทำ ICSI
ตรวจฮอร์โมนก่อนทำ ICSI ปรับสมดุลร่างกายให้พร้อมเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
“ฮอร์โมน” (Hormone) เป็นสารเคมีที่สร้างจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ และถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย และฮอร์โมนก็มีบทบาทที่สำคัญในการตั้งครรภ์ เพราะช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง
แต่ด้วยปัญหาสุขภาพของผู้มีบุตรยากและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย สามารถนำไปสู่ความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ เมื่อความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดขึ้น จะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง สามารถนำไปสู่การตกไข่หยุดชะงัก และโอกาสสำเร็จการตั้งครรภ์ลดลง
ทำความรู้จักฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
บ่อยครั้งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากของคู่รักหลายๆคู่ มักจะเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกายนั่นเอง มาเริ่มทำความรู้จักกับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์กันเลย
- ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง (Gonadotropin releasing hormone) หรือย่อว่า “จีเอ็นอาร์เอช (GnRH)” เป็นฮอร์โมนสำหรับการปล่อยฮอร์โมนที่เกิดจากต่อมใต้สมองในเพศหญิง ทำหน้าที่กระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เติบโตจนถึงจนถึงการตกไข่
- ฮอร์โมนไข่ตั้งต้น Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH เป็นระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกระตุ้นไข่ เพื่อตรวจวัดการเจริญเติบโตของไข่ (ovarian reserve) โดยระดับ FSH ที่สูงกว่าปกติอาจแสดงถึงการลดลงของ ovarian reserve ส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์จะลดลง
- ฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing hormone: LH) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่
- ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic gonadotropin: HCG) ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เหมาะสม ซึ่งช่วยในการตั้งครรภ์ให้ประสบความสำเร็จ
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง เอสโตรเจนมีบทบาทตลอดรอบประจำเดือน และช่วยให้ไข่ที่ปฏิสนธิพัฒนาเป็นเอ็มบริโอ
- โปรเจสเตอโรน (Progesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ถูกสร้างจากรังไข่ จะถูกปล่อยออกมาหลังการตกไข่ และช่วยเตรียมเยื่อบุมดลูกให้พร้อมสำหรับการรับตัวอ่อน
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมนก่อนทำ icsi
การตรวจฮอร์โมนก่อนทำ icsi เป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์สภาพร่างกายของผู้มีบุตรยาก ซึ่งจะทำให้แพทย์ทางด้านภาวะเจริญพันธุ์ มีความเข้าใจถึงคุณภาพและจำนวนไข่ของผู้หญิง เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จการตั้งครรรภ์ โดยแพทย์นำผลเลือดมาใช้ในการพิจารณาและเลือกวิธีการรักษา การให้ยา รวมถึงประเมินความสำเร็จในการรักษาเบื้องต้นด้วย ข้อดีของการตรวจฮอร์โมนก่อนทำ icsi มีดังนี้
- วางแผนการรักษาเหมาะสม : การตรวจวัดระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ช่วยให้การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายและฮอร์โมนของผู้หญิง และช่วยให้ทีมแพทย์ปรับการรักษาให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้รับบริการ
- การประเมินสุขภาพระบบท่อนำไข่ การทำ icsi จะต้องผ่านท่อนำไข่ (fallopian tube) ซึ่งทำหน้าที่นำไข่ไปสู่มดลูก การตรวจวัดฮอร์โมนช่วยประเมินสภาพของท่อนำไข่ว่ามีปัญหาหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสำเร็จของการทำ icsi
- ความพร้อมของไข่: การตรวจวัดระดับฮอร์โมน เพื่อประเมินความพร้อมของไข่ในการทำ icsi ระดับฮอร์โมนที่เหมาะสมช่วยให้ทีมแพทย์ทราบว่าไข่มีความพร้อมจะผสมหรือไม่
- การประเมินฮอร์โมนเพศชาย: การตรวจวัดฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยในการประเมินก่อนทำ icsi
- การวางแผนการรักษา: ผลการตรวจฮอร์โมนช่วยให้ทีมแพทย์ประเมินการให้ยาและการรักษาในระหว่างกระบวนการทำ icsi เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- ลดความเสี่ยง: การตรวจวัดฮอร์โมนช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่มีปัญหาฮอร์โมนหรือปัญหาสุขภาพที่ไม่ได้รับการตรวจพบมาก่อน
ปัจจุบันการตรวจฮอร์โมน มีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น การประเมินระดับฮอร์โมน (FSH) หรือ AMH ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินการทำงานของรังไข่และปริมาณไข่ตั้งต้นของผู้ที่ทำการรักษามีบุตรยาก โดยรูปแบบการตรวจแบ่งเป็น 3 วิธีหลักๆ ดังนี้
ตรวจฮอร์โมนช่วงไหนก็ได้ ไม่ต้องรอมีประจำเดือน
- ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) เป็นอันดับแรก ควรมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.5-5 แต่ถ้าได้ผล 15-20 ขึ้นมา ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพราะถ้าร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้สูงเกินไป จะส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อน โดยฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) มีความสัมพันธ์กับอายุ ดังนี้
- ผู้หญิงอายุระหว่าง 18-30 ปี ปกติ 0.5-4.1 mU/L
- ผู้หญิงอายุระหว่าง 31-50 ปี ปกติ 0.5-4.1 mU/L
- ตรวจฮอร์โมน Prolactin สร้างโดยต่อมใต้สมองและทำให้เกิดการผลิตน้ำนม จึงเป็นวิธีการตรวจประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก ควรมีค่ามาตรฐานน้อยกว่า 15-20 หากมีฮอร์โมนสูงเกินไปอาจไปยับยั้งวงจรการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่ตก
- ตรวจฮอร์โมน Anti-Mullerian Hormone (AMH) เป็นการตรวจเลือดซึ่งเป็นมาตรวัดอีกประการหนึ่ง โดยฮอร์โมน Anti-müllerian (AMH) จะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ระดับ AMH ที่ต่ำกว่าบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงปริมาณของรังไข่ที่ไม่ดี ซึ่งมักมาพร้อมกับไข่คุณภาพต่ำ อย่างไรก็ตามต้องสังเกตแม้แต่ผู้หญิงที่มีรังไข่ไม่ดีก็สามารถตั้งครรภ์ได้ หากไข่ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ฟองมีคุณภาพดี
การตรวจฮอร์โมนช่วงมีประจำเดือนวันที่ 1-3
- ตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนกระตุ้นไข่ตั้งต้น ช่วยควบคุมรอบประจำเดือนของผู้หญิงและการเจริญเติบโตของไข่ตั้งต้นซึ่งมีไข่อยู่ในรังไข่ ดังนั้นฮอร์โมน FSH จึงบอกการทำงานของรังไข่ว่ารังไข่เสื่อมไหม โดยค่ามาตรฐานของ FSH จะต้องไม่เกิน 10 การตรวจจะดำเนินการในวันที่สองหรือสามของรอบประจำเดือน และสำหรับของผู้ชาย FSH ควบคุมการผลิตและการขนส่งอสุจิ ซึ่งการทดสอบนี้ใช้เพื่อระบุจำนวนอสุจิ
- ตรวจฮอร์โมน E2 (Estradiol) เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนรูปแบบหนึ่งที่สำคัญ การทดสอบ Anestradiol ใช้เพื่อวัดการทำงานของรังไข่และประเมินคุณภาพของไข่ เช่นเดียวกับ FSH จะทำในวันที่สองหรือสามของรอบประจำเดือน โดยฮอร์โมนเพศหญิง มีค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 50 (ในช่วง day 1-3)
- ตรวจฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) เป็นฮอร์โมนไข่ตก ถ้าใครไม่มีฮอร์โมนนี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้ามีค่า LH สูงก็อาจจะเป็นซีสต์ในรังไข่ได้ โดยไม่ควรมีค่ามาตรฐานเกิน 6 (ในช่วง day1-3)
ตรวจช่วงหลังไข่ตก (ช่วง Luteal phase)
- ตรวจหลังจากช่วงหลังไข่ตก Day 12-14 ของรอบเดือนก่อนใส่ตัวอ่อน โดยการตรวจเลือดหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะช่วยประเมินคุณแม่ที่เคยมีปัญหาตั้งครรภ์ยากด้วยการดูว่าผนังมดลูกบางหรือไม่ โดยการตรวจค่าโปรเจสเตอโรน แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
- วันแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวันก่อนไข่ตก (Follicular phase) เป็นระยะที่เซลล์ไข่เจริญเติบโตอยู่ในถุงน้ำที่เรียกว่า ฟอลิเคิล โดยควรมีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 0.2 – 1.5 ng/ml
- วันไข่ตก (Ovulatory phase) เป็นช่วงเวลาที่ไข่สุกเต็มที่โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนลูทีไนซิง (Luteinizing Hormone) เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่และเคลื่อนตัวไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการผสมกับอสุจิในทุก ๆ เดือน โดยควรมีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 0.8 – 3.0 ng/ml
- หลังวันไข่ตกจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป (Luteal phase) เรียกว่า ระยะลูเตียล โดยควรมีค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 1.7 – 27 ng/ml
สรุปการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบระดับฮอร์โมน เป็นการประเมินภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ที่มีบุตรยาก เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพของร่างกายของผู้หญิง และเข้าสู่กระบวนการจัดการปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้มีบุตรยากอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงอาหารและการออกกำลังกาย หรือแพทย์ใช้ดุลยพินิจการใช้ยารักษาภาวะเจริญพันธุ์หรือฮอร์โมนบำบัดเพื่อให้เกิดความสมดุลที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จการตั้งครรภ์
หากคุณเป็นคู่รักที่กำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากรในการทำกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคา 190,000บาท และราคาฝากไข่ หรือ egg freezing 150,000 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.