Skip to content Skip to footer

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไข่ไม่ตก

ภาวะไข่ไม่ตก สัญญาณเตือนคู่รักที่อยากมีลูก

ทำไมถึงยังไม่ตั้งครรภ์สักที เป็นคำถามที่ขีดเส้นใต้ไว้ในใจของคู่รักหลายๆ คู่ หนึ่งในปัญหาที่ทำให้คู่รักมีลูกยาก และอยากมีลูก ซึ่งมักพบบ่อยที่สุด ก็คือ ภาวะไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อการมีบุตรยากได้ สำหรับสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตกนั้น มีด้วยกันหลากหลายปัจจัย

 

อยากมีลูกทำความรู้จักภาวะไข่ไม่ตก

“ภาวะไข่ไม่ตก” หมายถึง ภาวะที่ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่ จนกระทั่งเป็นไข่ที่โตเต็มที่ในช่วงกึ่งกลางรอบเดือน จึงไม่มีไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่ และเดินทางเข้าท่อนำไข่ เพื่อไปพบกับอสุจิที่เดินทางมาถึงท่อนำไข่ ซึ่งปกติไข่ที่โตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 2 ซม. ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศเอสตราไดออล (estradiol) และฮอร์โมนเพศเอสตราไดออลจะไปกระตุ้นที่ต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน LH (luteinizing hormone) เพื่อบังคับให้ไข่ตกเองตามธรรมชาติ

ดังนั้นเมื่อไข่ไม่มีการเจริญเติบโต จึงไม่มีการสร้างฮอร์โมนเอสตราไดออลเพื่อไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนมาช่วยให้ไข่ตก ทำให้ไม่มีการตกไข่ โดยทั่วไปคนที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 วัน มักจะมีการตกไข่เป็นประจำแต่ก็ไม่เสมอไป ในขณะที่ผู้ที่มีรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ควรตรวจสุขภาพก่อน แต่งงาน เพราะรอบเดือนอาจสั้นยาวไม่แน่นอน หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยบ่อยๆ มักเกิดจากภาวะไข่ไม่ตก

 

ภาวะไข่ไม่ตกแบ่งออก 3 กลุ่ม

  1. Hypogonadotropic hypogonadism ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของผู้ทำเด็กหลอดแก้ว ทำ icsi ivf มักจะเกิดจากความผิดปกติของทาลามัส และต่อมใต้สมอง ซึ่งทำให้หลั่ง GnRH น้อยลงหรือไม่ตอบสนองต่อ GnRH โดยจะตรวจพบระดับ gonadotropin และ estradiol ต่ำ พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ส่วนมากไม่ทราบสาเหตุ และอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด

  2. Normogonadotropic hypogonadism เป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดของผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf หรือทำกิ๊ฟ โดยหากตรวจระดับฮอร์โมนจะพบว่าระดับ gonadotropins ปกติ และ estradiol ต่ำ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome; PCOS)

  3. Hypergonadotropic hypogonadism เป็นกลุ่มที่เกิดจากภาวะรังไข่ล้มเหลว (ovarian failure) จากการตรวจระดับฮอร์โมนจะพบว่าระดับ gonadotropins สูง และ estradiol ต่ำ พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ซึ่งสาเหตุหลักของกลุ่มที่เกิดจากภาวะรังไข่ล้มเหลว ได้แก่ การบกพร่องทางพันธุกรรม สารพิษต่อรังไข่ เช่น รังสี, ยาเคมีบำบัด, การติดเชื้อ เช่น โรคคางทูม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

 

ภาวะไข่ไม่ตกเกิดขึ้นจากปัจจัยใดบ้าง

  • ภาวะมีถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้หญิงที่มีลูกยาก และอยากมีลูก เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้รังไข่มีถุงน้ำเล็ก ๆ จำนวนมาก และเกิดการตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก

  • ภาวะรังไข่เสื่อม เป็นภาวะที่รังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร โดยปกติแล้ว รังไข่จะมีหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อรังไข่เสื่อม ทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลต่อรอบเดือน และระบบสืบพันธุ์ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ด้วย ทำให้รังไข่มีไข่สะสมน้อยลง หรือไข่มีคุณภาพไม่ดี อาจเกิดจากอายุที่มากขึ้น หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดของผู้ที่อยากมีลูก

  • ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง และผลกระทบต่อการตกไข่ เพราะต่อมใต้สมอง เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่อยู่บริเวณฐานของสมอง มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงรังไข่ด้วย โดยต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างไข่ และหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงเมื่อต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ เช่น หลั่งฮอร์โมนน้อยเกินไป หรือมากเกินไป จะส่งผลต่อกระบวนการตกไข่ ทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกได้

  • ภาวะโปรแลคตินสูง ฮอร์โมนโปรแลคตินที่สูงผิดปกติ อาจไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ ซึ่งฮอร์โมนโปรแลคติน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมในสตรีหลังคลอด แต่หากมีระดับสูงผิดปกติ อาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และอวัยวะอื่นๆ
    ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ร่างกายจะพยายามต่อสู้กับเชื้อโรคโดยการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นหรือพังผืดขึ้นมา ซึ่งพังผืดเหล่านี้จะไปเกาะติด และพันรอบท่อนำไข่ ทำให้ท่อนำไข่อุดตันหรือแคบลง ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของไข่และเสปิร์มที่จะมาพบกันเพื่อปฏิสนธิ

  • การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ถือเป็นการรักษาที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงหลายราย ก่อนที่จะทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์และความสามารถในการมีบุตรได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดมดลูก และการผ่าตัดท่อนำไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อกระบวนการตั้งครรภ์
    น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป เมื่อตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานแล้ว ฝ่ายหญิงอยู่ในภาวะอ้วน และการผอมเกินไป อาจส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน และทำให้ไข่ไม่ตก เพราะเมื่อร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป จะทำให้เซลล์ในร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน เมื่อเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายจะพยายามผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) เพิ่มขึ้น

  • การออกกำลังกายหักโหม ผู้ที่อยากมีลูก และกำลังทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf หรือ ทำกิ๊ฟ อาจจะไม่ยังไม่ทราบว่า การออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจทำให้ร่างกายเข้าใจผิดว่ากำลังอยู่ในภาวะอดอยาก ทำให้ร่างกายหยุดการตกไข่ และนอกจากนี้ยังทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการควบคุมกระบวนการตกไข่

  • การใช้ยาบางชนิด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf ฝ่ายหญิงอาจจะทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด แบบกิน ฉีด หรือฝัง มีฮอร์โมนที่ไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่เมื่อหยุดใช้ยา ร่างกายก็จะกลับมาทำงานเป็นปกติได้ ยาแก้แพ้บางชนิดที่มีสารต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1 อาจไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ไข่ไม่ตกได้ ยาความดันโลหิตสูง เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ อาจมีผลข้างเคียงทำให้ไข่ไม่ตก

  • ความเครียด เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการตกไข่หรือของผู้ที่มีลูกยากและอยากมีลูก เมื่อเรารู้สึกเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน และส่งผลต่อกระบวนการตกไข่ โดยจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมน FSH และ LH: ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน FSH (Follicle-stimulating hormone) และ LH (Luteinizing hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการกระตุ้นให้ไข่เจริญเติบโตและตกไข่ ทำให้รอบเดือนผิดปกติ

  • การภาวะขาดสารอาหารบางชนิด นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังสามารถส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์และการมีบุตรได้อีกด้วย โดยเฉพาะวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดที่จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ และการเจริญเติบโตของเซลล์สืบพันธุ์ โดยวิตามิน และแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ มีดังนี้
    • วิตามินดี มีบทบาทสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก และยังเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง การขาดวิตามินดีอาจทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
    • โฟเลต เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีบทบาทสำคัญในการสร้าง DNA และ RNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงเซลล์ไข่ การขาดโฟเลตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์

 

การรักษาภาวะไข่ไม่ตกสำหรับผู้ทำเด็กหลอดแก้ว

  • การรักษา และเตรียมตัวเข้าสู่ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf โดยไม่ใช้ยา เช่นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย การลดความเครียด (stress reduction) เป็นต้น
  • การรักษาโดยใช้ยา (medical treatment ) สำหรับผู้ทำเด็กหลอดแก้ว icsi ivf แพทย์จะให้ยากระตุ้นไข่ (ovulation induction), ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย, ยาขับเลือด เป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อการรักษา สำหรับในกรณี PCOS ที่รักษาด้วยยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

 

หากคุณเป็นคู่รักเผชิญกับภาวะไข่ไม่ตก และกำลังตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว ฝากไข่ ทำ icsi สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์ เพื่อเตรียมตัวทํา icsi ivf thailand กับ Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยาก มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ุให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์ และบุคลากรในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี icsi ราคาเริ่มต้น 170,000 บาท ฝากไข่ ราคา 170,000 บาท หรือ egg freezing ราคา 170,000 บาท และมีบริการแบ่งเกรดตัวอ่อน สามารถปรึกษาได้ที่ Call Center 097-484-5335 เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.

Leave a comment