ก่อนทำ ivf ทำ icsi สิ่งที่คู่รักควรรู้ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บรักษาไข่
การทําเด็กหลอดแก้ว ทำivf หรือ ทำ icsi คือเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) โดยการนำสเปิร์มและไข่ออกมาทำการปฏิสนธิในห้องแล็ป ตามด้วยการฝังตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ หนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่ผู้มีภาวะมีบุตรยาก ควรรู้ก็คือขั้นตอนการรักษาไข่ ด้วยการแช่แข็งไข่ egg freezing หรือการฝากไข่ เพื่อทำให้คงประสิทธิภาพของเซลล์ไข่ไว้ในสภาพเดิม เสมือนการหยุดเวลาไว้การแช่แข็งไข่คืออะไร?
การแช่แข็งไข่หรือการฝากไข่ (Egg Freezing or Oocyte Cryopreservation) ทางการแพทย์เป็นเทคนิคการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความเย็นในการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์หญิงซึ่งก็คือ ไข่ ถูกแช่แข็งโดยลดอุณหภูมิ -196°C ซึ่งจะทำให้เซลล์ทุกเซลล์หยุดการทำงาน เมื่อต้องการใช้ไข่ที่แช่แข็งไว้ ก็จะละลายออกมาผสมกับอสุจิ เพื่อนำมาปฏิสนธิกับตัวอสุจินอกร่างกายขั้นตอนการฝากไข่ Egg Freezing มีอะไรบ้าง
การแช่แข็งไข่เป็นวิธีการรักษาภาวะเจริญพันธุ์สำหรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก และเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยการทำivf ทำ icsi ที่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรกเป็นระยะการเตรียม การกระตุ้นและติดตาม การเก็บไข่ และขั้นตอนสุดท้าย การฝากไข่ ขั้นตอนแรกระยะการเตรียมความพร้อม- แพทย์จะทำการซักประวัติและข้อมูลสุขภาพ เพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่า เหมาะสมหรือไม่ โดยทำการตรวจเลือด ตรวจหมู่เลือดอาร์เอช (Rh Group ) ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV) ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบ (HBsAg) ตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV) ตรวจหาโรคหัดเยอรมัน (Rubella IgG) ตรวจหาโรคธาลัสซีเมีย (Hemoglobin typing) และตรวจ LAB ANC (Absolute Neutrophil Count : ANC) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาว
- แพทย์จะทำการตรวจฮอร์โมนการเจริญพันธุ์ ซึ่งจะตรวจทั้ง E2 (Estradiol), LH (Luteinizing Hormone), FSH (Follicle Stimulating Hormone), PRL (Prolactin) และทำอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อประเมินจำนวนฟองไข่ของคุณ ณ เวลานั้น หรือที่เรียกว่า AFC ว่าพร้อมสำหรับการกระตุ้นไข่หรือไม่ โดยการดูจำนวนและขนาดของฟองไข่เป็นหลักจากนั้นจะเริ่มทำการนัดหมายเพื่อให้มากระตุ้นไข่ ในรอบเดือนถัดไป
- แพทย์จะให้ยาคุมกำเนิด กับคู่รักภาวะมีบุตรยาก ที่มีประจำเดือนหรือหลังการตกไข่ และทำการอัลตราซาวนด์อีกครั้ง เพื่อติดตามดูความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่
- การกระตุ้นไข่ จำเป็นจะต้องฉีดยาฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้มดลูกผลิตไข่ออกมาครั้งละหลายๆ ใบ ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องกระตุ้นทุกวันเป็นเวลา 10-14 วัน จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
- การวัดฮอร์โมนต่อต้าน Mullerian (AMH) เพื่อให้ว่าการตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่ได้ดีเพียงใด เนื่องจาก AMH เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของปริมาณสำรองรังไข่
- การฉีดยาเพิ่มเติม คู่รักภาวะมีบุตรยาก ทำivf ทำ icsi จะได้รับการฉีดยายับยั้งการตกของไข่
- หลังจากเริ่มฉีดยับยั้งไข่ตกแล้ว โดยปกติจะเป็นเวลาที่รังไข่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ลดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เช่น การวิ่ง การออกกำลังกายแบบ เพื่อลดความเสี่ยงของการบิดตัวของรังไข่
- การเฝ้าติดตาม แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวนด์และการตรวจเลือด และกำหนดปริมาณการฉีดยาของคุณ จำนวนครั้งของการพบแพทย์จะกำหนดโดยแพทย์ โดยประมาณ 2 สัปดาห์แรกของรอบเดือน จากนั้นความถี่ในการนัดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน
- ระหว่างก่อนการเก็บไข่ แพทย์จะทำการตรวจดูไข่เสมอว่า ไข่มีขนาดที่เหมาะสมแล้วและมีปริมาณที่มากพอแล้วหรือไม่ โดยขนาดที่เหมาะสมจะต้องไม่ต่ำกว่า 18 มิลลิเมตร และหากครบกำหนดการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นแล้ว แพทย์ก็จะทำการฉีดยากระตุ้นเพื่อให้ไข่สุกและตกพร้อมกันภายในเวลา 36 ชั่วโมง
- ในขั้นตอนนี้ คู่รักมีภาวะมีบุตรยาก ทำivf ทำ icsi จะทราบว่าได้ไข่มากี่ใบ แต่อาจจะไม่รู้ว่าไข่ที่สุกแล้วถูก egg freezing ไปกี่ใบจนกว่าจะผ่านไป 24 ชั่วโมง โดยหลังจากเก็บไข่แพทย์ให้พักฟื้นประมาณ 30-60 นาที จากนั้นก็สามารถเดินทางกลับบ้าน
- หลังจากการเก็บไข่ ทั่วไปภายใน 24 ชั่วโมง ฝ่ายหญิงอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้ เลือดในช่องคลอดเล็กน้อย ตะคริวที่ท้อง ท้องอืด และท้องผูก โดยแพทย์จะแนะนำทายาแก้ปวดและนำแผ่นความร้อนประคบอาการตะคริว หากมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก รู้สึกเป็นลมหรือหน้ามืดให้รีบมาพบแพทย์ทันที
- ในกระบวนการขั้นตอนเก็บไข่ ทีมแพทย์จะทำการเก็บผ่านทางช่องคลอด โดยการส่องกล้อง ซึ่งจะมีการวางยาระงับการปวด จากนั้นก็นำเครื่องมือเข็มขนาดเล็กที่ติดหัวอัลตราซาวด์ค่อยๆ สอดเข้าไปส่องหาไข่ ก่อนจะทำเจาะดูดการไข่ออกมาตรวจสอบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำยา Cryoprotectant เข้มข้นสูงและทำให้เย็นอย่างรวดเร็วด้วยไนโตรเจนเหลว เพื่อคงสภาพไข่ไว้ให้พร้อมสำหรับ egg freezing ซึ่งกระบวนการนี้สามารถฝากไข่ได้นานกว่า 5 – 10 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่
- การเตรียมเข้าสู่กระบวนปฏิสนธิด้วยการทำ icsi การเลือกตัวอสุจิที่มีลักษณะปกติมาเพียง 1 ตัวฉีดเข้าเซลล์ไข่ วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาน้ำเชื้ออสุจิอ่อน
อัตราความสำเร็จของการแช่แข็งไข่
จากข้อมูลของ American Society for Reproductive Medicine ถ้ามีคนแช่แข็งไข่เพียงใบเดียว โอกาสที่ไข่ใบนั้นจะทำให้เกิดการมีชีวิตรอดอยู่ะหว่าง 2- 12% ดังนั้นการแช่แข็งไข่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีมีโอกาสถึง 70% หากแช่แข็งไข่ที่โตเต็มที่ตั้งแต่ 9 ฟองขึ้นไป สำหรับคนอายุ 40 ต้น ๆ อาจต้องแช่แข็งไข่มากขึ้น 28 ใบขึ้นไป จะทำให้โอกาส 70% ดังนั้นการฝากไข่ควรมีอัตราดังนี้- อายุ 36 และต่ำกว่า : ควรเก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 14 ใบ
- อายุ 37-39 ปี: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ใบ
- อายุ 40-42 ปี: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 9 ใบ
- อายุ 43 ปีขึ้นไป: เก็บไข่สุกโดยเฉลี่ยประมาณ 7 ใบ
ใครบ้างที่ควรจะแช่แข็งเก็บรักษาเซลล์ไข่
- หญิงที่ยังไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ในขณะนี้ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนและคุณภาพเซลล์ไข่
- ผู้มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานเร็ว เช่น Turner syndrome
- ผู้ที่ต้องผ่าตัดรังไข่ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ช็อคโกแลตซีสต์
- กรณีเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วแต่สามีไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อเพื่อมาผสมในวันเก็บไข่ได้ ไม่มีตัว
- อสุจิในน้ำเชื้อหรือจำนวนอสุจิไม่เพียงพอที่จะผสม
การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่การฝากไข่
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียด หรือพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องเครียด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง ทานอาหารที่สมดุลกับร่างกาย
- รับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ซึ่งก่อนรับประทานควรปรึกษาแพทย์
- รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้า เพราะช่วยกระตุ้นจังหวะการหลับตื่นของเราให้ดีขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.