ข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่หลังใส่ตัวอ่อน
แนะนำ 9 ข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่มีบุตรยาก หลังใส่ตัวอ่อน
การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ Assisted reproductive technology (ART) การทำ IVF/ICSI นับได้ว่าเป็นวิธีการที่มีความละเอียดอ่อนและจะต้องอาศัยความเอาใจใส่เป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นแล้วคุณแม่ที่อยากมีลูกจึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแล และมีความระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองที่มากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ได้มีการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวเข้าสู่โพรงมดลูก และเจริญเติบโตขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด
วันนี้ Genesis Fertility Center จึงมีข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับคุณแม่หลังใส่ตัวอ่อน มาฝากคุณแม่มือใหม่ทุกคนกันค่ะ
9 ข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่มีบุตรยาก หลังใส่ตัวอ่อน
1.พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด
ช่วงเวลา 3-5 วันแรกหลังจากที่คุณแม่มีบุตรยากได้ทำการใส่ตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก นับได้ว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นแล้วในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายในระดับที่เหมาะสม งดการเดินหรือยืนนาน ๆ รวมถึงงดการขึ้น-ลงบันไดบ่อย ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายแบบหนัก ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อป้องกันให้มดลูกของคุณแม่มีบุตรยากเกิดการบีบตัวหรือเกร็งตัวจนรบกวนต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
2.หลีกเลี่ยงการนอนติดเตียง
แม้ว่าคุณแม่มีบุตรยากที่เพิ่งผ่านการทำเด็กหลอดแก้ว และใส่ตัวอ่อนควรจะพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และปฏิบัติตัวเหมือนกับเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียงนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับคุณแม่เช่นกัน เพราะนอกจากการนอนนิ่ง ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวได้ง่ายมากขึ้นแล้วนั้น การนอนติดเตียงยังทำให้คุณแม่เกิดความเครียด และทำให้ฮอร์โมนของคุณแม่มีบุตรยากเกิดการเปลี่ยนไปจนส่งผลต่อความสำเร็จในการฝังตัวของตัวอ่อนได้
3.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
การตั้งครรภ์ของคุณแม่มีบุตรยากที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การทำ IVF/ICSI นับได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความแตกต่างและมีความเสี่ยงที่มากกว่าการตั้งครรภ์โดยวิธีการธรรมชาติค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่มีการใส่ตัวอ่อน ไปจนถึงวันที่มีการนัดเจาะเลือดเพื่อทำการตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์ Hcg และหากเป็นไปได้ควรให้ผ่าน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไปก่อนจะดีที่สุด เพื่อเป็นการช่วยให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.ให้ความใส่ใจการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ
อาการท้องผูกที่ส่งผลต่อการต้องนั่งชักโครกเป็นระยะเวลานาน ๆ และอาการท้องเสียที่ส่งผลต่อการทำให้ลำไส้เกิดการบีบรัดตัวมากยิ่งขึ้น นับได้ว่าเป็นอาการที่ก่อให้เกิดผลพวงที่ทำให้มดลูกของคุณแม่มีบุตรยากต้องเกิดการบีบรัดตัวที่มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้อาการท้องผูกหรือท้องเสียรบกวนกระบวนการฝังตัวของตัวอ่อน คุณแม่มีบุตรยากจึงควรระมัดระวังและให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบๆ อาหารหมักดอง อาหารประเภทยำ ส้มตำ ปูดอง หรืออาหารทะเล แล้วหันมาเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อน ๆ รวมถึงผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยกากใยอาหารให้มากยิ่งขึ้น
5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หลังจากที่มีการใส่ตัวอ่อนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณแม่มีบุตรยากควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการนอนดึก เพื่อเป็นการช่วยรักษาระดับฮอร์โมนภายในร่างกายให้สมดุล และช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมาจนส่งผลรบกวนต่อการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ที่ทำให้ไข่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ หรือทำให้ไข่ที่เกิดการปฏิสนธิแล้วสามารถฝังตัวที่มดลูกได้ยากมากขึ้น
6.หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด
ขึ้นชื่อว่าสารเคมีแล้วนั้น สารเคมีในชีวิตประจำวันของเราทุกชนิด ยกตัวอย่างเช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น สเปรย์ฉีดยุง ฉีดมด สเปรย์ดับกลิ่นในห้องน้ำ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและความงามต่าง ๆ อย่างเช่น ยาทาเล็บ ยาย้อมผม สเปรย์ฉีดผม หรือน้ำหอม ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายต่อทั้งคุณแม่มีบุตรยากและเจ้าตัวเล็กในท้องได้ เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาหลังจากที่มีการใส่ตัวอ่อนและช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่มีบุตรยากจึงควรหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือกรดวิตามินเอเพื่อความปลอดภัย
7.หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในบางครั้ง การเจ็บป่วยเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น การมีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ก็ทำให้หลาย ๆ คนมักเลือกตัดสินใจที่จะซื้อยามารับประทานเองที่บ้านแทนการไปพบแพทย์ แต่สำหรับคุณแม่มีบุตรยากที่เพิ่งผ่านกระบวนการทำกิฟและใส่ตัวอ่อนนั้น การซื้อยามารับประทานเองอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการฝังตัวของตัวอ่อน และความสมบูรณ์แข็งแรงของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ได้ ดังนั้นหากเกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดอาการผิดปกติใด ๆ ไม่ว่าจะเล็กน้อยมากสักแค่ไหน คุณแม่มีบุตรยากควรเลือกไปปรึกษาแพทย์ทันที
8.หลีกเลี่ยงการขับรถหรือเดินทางในระยะไกล
การที่จะต้องขับรถไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคันเร่งหรือเบรก รวมไปถึงการที่จะต้องนั่งอยู่บนเบาะที่นั่งในอิริยาบถเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ ในขณะที่ต้องเดินทางไกล อาจส่งผลทำให้มดลูกของคุณแม่มีบุตรยากที่เข้ารับการทำ IVF/ICSI และใส่ตัวอ่อนเกิดการเกร็งตัวและบีบตัวจนเกิดการรบกวนต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และนอกจากนี้การเดินทางด้วยรถยนต์ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ที่ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ส่งผลให้คุณแม่มีบุตรยากได้รับบาดเจ็บรุนแรง แต่แรงกระแทกหรือการเบรกกะทันหันที่เกิดขึ้นก็อาจส่งผลให้ตัวอ่อนในครรภ์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนเป็นสาเหตุของการแท้งได้
9.หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
การเกิดความเครียดภายหลังจากที่มีการใส่ตัวอ่อน นับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการฝังตัวของตัวอ่อนของคุณแม่มีบุตรยาก เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดความเครียดที่จะนำไปสู่การทำให้ออกซิเจนหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงมดลูกได้ไม่เพียงพอ จนส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและโอกาสคลอดก่อนกำหนดในอนาคต คุณแม่มีบุตรยากที่เพิ่งเข้ารับการใส่ตัวอ่อนจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขอยู่เสมอ
สำหรับคู่รักหรือคู่แต่งงานที่อยากมีลูกแต่ประสบปัญหาภาวะมีลูกยาก ที่ Genesis Fertility Center คลินิกบริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก เราพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการเลือกวิธีการรักษาด้วย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ Assisted reproductive technology (ART) การทำ IVF/ICSI ที่มีความเหมาะสมกับตัวคนไข้ ตลอดจนเรายังมีบริการตรวจคัดกรองความผิดปกติต่าง ๆ อาทิ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ด้วยเทคนิค PGT-A By NGS ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เพื่อช่วยให้คนไข้ของเรามีโอกาสได้รับตัวอ่อนที่ดีและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.