Skip to content Skip to footer

ข้อแตกต่างของการฝากไข่ และ ฝากตัวอ่อน

ฝากไข่ VS ฝากตัวอ่อน แบบไหนเหมาะกับแผนมีลูกเมื่อพร้อม

‘การฝากไข่’ กับ ‘การฝากตัวอ่อน’ มีความแตกต่างกันอย่างไร ผู้หญิงหลายๆ คน รวมทั้งคู่รักหลายคู่ที่ตัดสินใจมีลูกเมื่อพร้อมอย่างการฝากไข่ หรือวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การฉีดน้ำเชื้อ IUI การทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI อาจกำลังจะสับสนอยู่ และเพื่อไขข้อสงสัย เรามาเจาะลึกถึงการฝากไข่เทียบกับฝากตัวอ่อนกัน เพื่อช่วยให้ผู้หญิงและคู่รักสินใจว่ากระบวนการใดที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง
ที่ผ่านมาหลายคนเชื่อว่า การนำตัวอ่อนไปแช่แข็งนั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ประสบความสำเร็จการตั้งครรภ์มากกว่าการฝากไข่ ซึ่งการแช่แข็งไข่ egg freezing แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการแช่แข็งตัวอ่อน โดยปกติแล้วต้องใช้ไข่หลายฟองเพื่อให้ได้ตัวอ่อน 1 ตัว ดังนั้นการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะด้วยกระบวนการฝากไข่หรือฝากตัวอ่อน คุณก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

ฝากไข่ VS ฝากตัวอ่อน แตกต่างอย่างไร

กระบวนการฝากไข่กับฝากตัวอ่อน ขั้นตอนของทั้งสองแบบเริ่มต้นด้วยวิธีพื้นฐานเดียวกัน คือ ฉีดฮอร์โมนเป็นเวลา 8-12 วัน เพื่อกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่หลายฟอง (ไข่หลายฟองมีความสำคัญเพราะไม่ใช่ไข่ทุกฟองที่จะนำไปสู่การตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณจะอายุน้อยก็ตาม ดังนั้นการแช่แข็งไข่ egg freezing หลายฟองจะเพิ่มโอกาสการผสมกับน้ำเชื้ออสุจิเพื่อเป็นตัวอ่อน
ขณะที่การเก็บรักษาระหว่างการฝากไข่และฝากตัวอ่อน ในทางการแพทย์จะใช้ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 ˚C เพื่อสามารถรักษาสภาพอยู่ได้ โดยจะหยุดปฏิกิริยาทางชีวเคมีทั้งหมด ดังนั้นไข่หรือตัวอ่อนจะคงสภาพอยู่ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การฝากไข่ คืออะไร เหมาะกับใคร

การฝากไข่ เป็นการแช่แข็งเก็บรักษาเซลล์ไข่ หรือ egg freezing เป็นการเก็บรักษาเซลล์ไข่ไว้ใช้เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ในเวลาที่พร้อม ดังนั้นหากใครที่วางแผนมีบุตรหลังอายุ 35 ปี จึงควรฝากไข่ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ขณะที่ร่างกายยังผลิตไข่จำนวนมาก และคุณภาพดีอยู่
สำหรับการแช่แข็งไข่ egg freezing ไข่ถือว่ามีความบอบบางและเปราะบางมากกว่ากว่าตัวอ่อน ดังนั้นจึงมีโอกาสสูญเสียในระหว่างกระบวนการละลาย ซึ่งพบว่า อัตราการรอดชีวิตการฝากไข่จะอยู่ที่ 90% ของจำนวนไข่โดยรวม นอกจากนี้ การฝากไข่เพื่อตั้งครรภ์ในภายหลังไม่ใช่วิธีที่ได้ผล 100% เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความแข็งแรงของผู้ฝากไข่ ความแข็งแรงของสเปิร์ม อายุของทั้ง 2 ฝ่าย
การแช่แข็งไข่ egg freezing เหมาะสำหรับผู้หญิงที่โสดและต้องการมีลูกเมื่อพร้อมในอนาคต เพราะการแช่แข็งไข่ไม่จำเป็นต้องใช้สเปิร์ม ไข่จะถูกแช่แข็งโดยไม่ได้ผสมกับอสุจิและสามารถเก็บไว้ได้ในภายหลัง จึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้หญิงโสด ที่ต้องการรักษาสามารถรักษาภาวะเจริญพันธุ์ของตนเองได้ด้วยตนเองในกรณีที่ยังไม่ได้แต่งงาน

การฝากตัวอ่อน คืออะไร เหมาะกับใคร

การฝากตัวอ่อน คือการที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิโดยการ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI จากนั้นจะถูกแช่แข็งอย่างรวดเร็วภายใต้อุณหภูมิที่่ต่ำ เพื่อรักษาตัวอ่อนที่สร้างจากไข่คงอายุน้อยและแข็งแรง ซึ่งข้อดีของการฝากตัวอ่อนแช่แข็ง ทำให้คุณรู้ว่ามีไข่กี่ฟองที่แข็งแรงพอที่จะปฏิสนธิจนเป็นตัวอ่อน เพื่อเริ่มสู่กระบวนการตั้งครรภ์

กระบวนการแช่แข็งตัวอ่อนเริ่มต้นคล้ายกับกระบวนการแช่แข็งไข่ในขั้นตอนแรก ผู้หญิงจะต้องได้รับการฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นรังไข่และผลิตไข่ที่มีหลายฟอง จากนั้นไข่จะถูกเก็บออกมา และนำไข่ที่ได้ออกมาผสมกับสเปิร์มเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิได้ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาตั้งแต่ 16 ถึง 20 ชั่วโมง

เมื่อไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิสำเร็จก็จะพัฒนาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะถูกเก็บไว้ในตู้ฟักเพื่อให้สามารถพัฒนาได้ เมื่อพร้อมแล้ว แพทย์จะแช่แข็งโดยใช้วิธีการแช่แข็งอย่างช้าๆ ที่เรียกว่า การทำ vitrification หรือการแช่แข็งตัวอ่อนแบบผลึกแก้ว เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อให้สามารถเก็บไว้ใช้ในภายหลังได้ และช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนเมื่อถูกละลาย จากนั้นเอ็มบริโอจะถูกเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวจนกว่าจะพร้อมใช้ในอนาคต
การแช่แข็งตัวอ่อน วิธีการนี้จะช่วยลดจำนวนครั้งที่คุณอาจต้องนำไข่ออกมา เพราะการแช่แข็งตัวอ่อนทำให้ทราบล่วงหน้าว่ามีไข่กี่ฟองที่เป็นไข่ที่แข็งแรง นอกจากนี้การแช่แข็งตัวอ่อน มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น เนื่องจากตัวอ่อนจะอยู่ที่ 95% ของตัวอ่อนจะอยู่รอด เพราะตัวอ่อนประกอบด้วยเซลล์ร้อยเซลล์ เมื่อแช่แข็งและนำน้ำออก โครงของตัวอ่อนยังมีอยู่มาก จึงทำให้แข็งแรงกว่าไข่
สำหรับการฝากตัวอ่อนเหมาะกับใครนั้น ต้องบอกว่าเหมาะสำหรับคู่รักที่มีทะเบียนสมรสมากกว่าผู้หญิงโสด เนื่องจากกระบวนการแช่แข็งตัวอ่อนต้องใช้สเปิร์ม

สรุปความแตกต่างการฝากไข่ กับฝากตัวอ่อน

  • การฝากไข่ เหมาะกับสาวโสดมากกว่า และเมื่อต้องใช้ไข่จะต้องมีใบทะเบียนสมรสมาแสดง
  • ฝากตัวอ่อน เหมาะสำหรับคู่รักที่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น เพราะต้องใช้สเปิร์มเพื่อการปฏิสนธิและทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI
  • การฝากไข่ หรือ ฝากตัวอ่อนควรทำตอนผู้หญิงอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ไม่ควรเกิน 35 ปี
  • ความคงทนของไข่ที่ผ่านการแช่แข็งจะน้อยกว่าตัวอ่อน เมื่อถึงเวลาละลายไข่ที่แช่แข็งไว้ออกมาปฏิสนธิอาจได้ปริมาณไข่ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการแช่แข็งแบบเป็นตัวอ่อน
  • อัตราการรอดชีวิต การฝากไข่กับฝากตัวอ่อน อัตราการรอดชีวิตจะใกล้เคียงกันมาก ฝากไข่จะอยู่ที่ 90% ของไข่ และการฝากตัวอ่อนอยู่ที่ 95% ของตัวอ่อนจะอยู่รอด

ทางเลือกไหนดีกว่ากัน? การฝากไข่หรือตัวอ่อน

ในท้ายที่สุดแล้ว ระหว่างการฝากไข่หรือตัวอ่อนแบบไหนดีกว่า จริงๆ แล้วกระบวนการที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในชีวิตปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคตของคู่รักและผู้หญิงโสด เพราะการฝากไข่ กับการฝากตัวอ่อนทำให้ผู้หญิงมีอิสระในการวางแผนการใช้ชีวิต หากคุณเป็นสาวโสดยังไม่แต่งงาน ที่ต้องการวางแผนครอบครัวในอนาคต การเลือกวิธีแช่แข็งไข่ egg freezing เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม หากคุณและคู่รักได้จดทะเบียนสมรส และวางแผนที่จะมีลูกด้วยกันในอนาคตและต้องการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมในอนาคต การแช่แข็งตัวอ่อนของคุณอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากตัวอ่อนมีอัตราความสำเร็จสูงกว่าและสามารถแช่แข็งได้นานขึ้น

สรุปการฝากไข่และการฝากตัวอ่อนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกเมื่อพร้อมในอนาคต และทำให้การตั้งครรภ์ง่ายขึ้นสำหรับผู้หญิง และคู่สามีภรรยาในอนาคต หากแต่ว่าเป็นการตัดสินใจว่า แบบใดที่เหมาะกับคุณ และไม่ว่าต้องการจะฝากไข่ หรือ ฝากตัวอ่อน จุดเริ่มต้นคือแม่ๆ ควรบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ก่อนการไปเก็บไข่ ด้วยการทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมเมื่อไหร่ก็ตั้งครรภ์ได้เลย

หากคุณเป็นผู้หญิงโสดที่ต้องการวางแผนครอบครัวหรือคู่รักที่ต้องการมีลูกเมื่อพร้อม Genesis Fertility Center หรือ GFC ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยากแบบครบวงจร โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามาช่วยการเจริญพันธ์ให้กับคู่รักที่มีบุตรยาก ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสานความใส่ใจของทีมแพทย์และบุคลากร เมื่อคู่รักตัดสินใจทำการรักษาผู้มีบุตรยาก ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี IVF ICSI และเรายังมีบริการฝากไข่ egg freezing

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
Call Center 097-484-5335
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น. หรือ
เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น.