Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เคยผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์จะมีผลกับคุณภาพไข่ และจำนวนไข่หรือไม่?

เคยผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์จะมีผลกับคุณภาพไข่ และจำนวนไข่หรือไม่? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : . แฟนเป็นช็อคโกแล็ตซิสในรังไข่ เคยผ่าตัดมาแล้ว จะมีผลกับคุณภาพไข่และจำนวนไข่ที่จะเก็บหรือไม่ และเก็บได้กี่ใบครับ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ในรังไข่ที่มีช็อกโกแลตซีสต์ โดยเฉพาะหากเคยมีการผ่าตัดเลาะซีสต์ออก จะส่งผลให้มีจำนวนและคุณภาพไข่ที่ลดลง แต่จำนวนไข่ที่จะเก็บได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น อายุ โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัดเดิม ซึ่งสามารถประเมินได้จากการตรวจเพิ่มเติมโดยการอัลตราซาวด์ดูไข่ตั้งต้น ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ เป็นต้น เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้ว ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกันแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel : 0974845335 หรือ 02-108-6413-14 Fax:…

Read More

เหตุผลที่ทำ IUI หรือ ICSI ไม่ติด เพราะอะไร?

เหตุผลที่ทำ IUI หรือ ICSI ไม่ติด เพราะอะไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q :อายุ 38 ทำเด็กหลอดแก้วมา 4 ครั้ง iui 1 ครั้งไม่เคยติดเลย เวลาใส่ตัวอ่อนมานอนแทบจะติดเตียงจะลุกเข้าห้องน้ำกะกินข้าวแค่นั้น เพราะอะไรทำไมถึงไม่ติดสักทีคะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอตา พญ. พาวรรณ ลิ้มวรพิทักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : สาเหตุที่ทำให้ไม่ตั้งครรภ์หลังจากการทำเด็กหลอดแก้วมีหลายสาเหตุ ค่ะ เช่น -คุณภาพตัวอ่อนไม่ดี อาจเป็นจากคุณภาพของไข่หรืออสุจิที่ไม่ดี ส่งตัวให้ตัวอ่อนพัฒนาการไม่ดี หรือตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งพบบ่อยให้ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปค่ะ -ความผิดปกติที่มดลูก   ความผิดปกติมีทั้งแบบที่เป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังค่ะ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เนื้อ งอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญแทรกในกล้ามเนื้อมดลูก -เยื่อบุโพรงมดลูกบางเกินไปหรือความสามารถในการรับตัวอ่อนลดลง -นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกเช่น ความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ ,ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ,ชนิดและปริมาณยาที่ช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์ ส่วนเรื่องการปฏิบัติตัวอย่างย้ายตัวอ่อน ปัจจุบันมีการศึกษาที่สรุปออกมาแล้วคะ ว่าไม่แนะนำให้นอนติดเตียงหลังย้ายตัวอ่อน เนื่องจากไม่ได้ทำให้อัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอตา ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook…

Read More

SPA หรือ SNSA โรคแพ้ภูมิตัวเอง สามารถทำ ICSI/IVF เด็กหลอดแก้วได้ไหม?

SPA หรือ SNSA โรคแพ้ภูมิตัวเอง  สามารถทำ ICSI/IVF เด็กหลอดแก้วได้ไหม? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ตอนนี้อายุ 28 ปี ดิฉันพึ่งตรวจพบว่าเป็นโรคข้อติดที่กระดูกเชิงกราน แต่ดิฉันอยากจะมีลูก อยากทราบว่าจะมีโอกาสที่จะมีได้ไหม แล้วโรคนี้จะถ่ายทอดลงไปที่ลูกไหมคะ ระหว่างตั้งครรภ์ อาการปวดข้อจะกำเริบไหมคะ เป็นโรคspaสามารถตั้งครรภ์ได้ไหมคะ ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : SPA หรือ SNSA เป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มักเกิดอาการกับข้อกระดูกตามส่วนต่างๆของร่างกายค่ะ แต่โรคนี้ไม่ติดต่อทางพันธุกรรมนะคะ โรคในกลุ่มนี้จะทำให้มีลูกยากด้วยตัวโรคเองอยู่แล้ว แต่ก็ยังพอมีโอกาสที่จะมีบุตรได้อยู่ค่ะ ถ้ารักษาตัวดีๆจนโรคสงบ แต่อันดับแรกต้องปรึกษาคุณหมอประจำตัวที่ดูแลโรค SPA ของเราก่อนว่าความรุนแรงโรคของเราถึงขั้นไหน การมีบุตรจะส่งผลให้โรคแย่ลงหรือไม่ และยาที่ใช้รักษาโรคอยู่เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์หรือไม่ และหากตั้งครรภ์จริงๆต้องฉีดยาป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวหรือไม่ ประมาณนี้ค่ะ สรุปแล้วคือประเด็นหลักๆต้องปรึกษาคุณหมอที่ดูแลโรค SPA ให้ประเมินความรุนแรงของโรคเราน่ะค่ะ ว่าสามารถจะมีบุตรได้หรือไม่ ถ้าทางหมอโรคประจำตัวอนุญาต คุณหมอทางสูติที่รักษาภาวะมีบุตรยากก็ยินดีช่วยให้การรักษาค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook…

Read More

อายุ 25-26 ปี เร็วไปไหมที่จะฝากไข่?

อายุ 25-26 ปี เร็วไปไหมที่จะฝากไข่? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : .อายุ 25-26 ปี เร็วไปไหมคะคุณหมอที่จะฝากไข่? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ไข่ของผู้หญิงเราจะมีปริมาณและคุณภาพที่ลดลงตามอายุ ในรายที่อายุ 25-26 ปี หากมีความพร้อมก็สามารถทำการฝากไข่ไว้ก่อนได้คะ เพื่อให้ได้ปริมาณไข่ที่มาก และคุณภาพดีกว่าการฝากไข่ตอนที่อายุเพิ่มมากขึ้น หรือ ประสบกับปัญหาภาวะมีบุตรยากแล้วเมื่อพร้อมมีบุตรตอนอายุมากคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้ว ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกันแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel : 0974845335 หรือ 02-108-6413-14 Fax: 02-108-6484 IG: gfc.bangkok Inbox…

Read More

ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 2561

ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 2561 #เนื้องอกในมดลูกทำให้มีบุตรยากจริงหรือ #โรคอะไรบ้างที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก 👉 ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม👩‍⚕️ 📍 ใน LIVE สด วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 61 เวลา 16.00 -16.30 น. นี้ แล้วพบกันนะคะ #GFCbangkok #การแช่แข็งไข่ #มีบุตรยาก #IVF #เด็กหลอดแก้ว ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ☎ Tel : 0974845335 หรือ 02-108-6413-14 📠…

Read More

การเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อน สำหรับคนที่ไวต่อฮอร์โมน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

การเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อน สำหรับคนที่ไวต่อฮอร์โมน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ตอนนี้อายุ 36 ปี ถ้าต้องการเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อนรอบธรรมชาติ แบบไม่ใช้ฮอร์โมน เพราะว่าเป็นคนไวต่อฮอร์โมน คุณหมอแจ้งว่าให้ใส่ตัวอ่อนแบบไม่ต้องใช้ฮอร์โมน อยากทราบว่าต้องทาน หรือบำรุงอะไรเป็นพิเศษไหมคะ เพื่อให้ผนังหนาตามเกณฑ์ โดยที่ไม่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : การเตรียมผนังแบบธรรมชาติ จะต้องลุ้นนิดนึงนะคะ ลุ้นในความหมายนี้ก็คือ มีโอกาสที่จะมีไข่โตเองในรอบนี้หรือไม่ ถ้าบ้างคนมีปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกตามธรรมชาติถ้าไม่มีไข่โตมา ผนังก็จะหนายากอันนี้คือ ข้อเสียของการเตรียมด้วยวิธีธรรมชาติ มียา หรือวิตามินอื่นๆที่ช่วยได้ชัดเจนไหม ก็ยังไม่มีตัวไหนที่มาทดแทนได้ หลักๆที่เราต้องการเตรียมผนังก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่จะช่วยเพิ่มความหนา ถึงคนไข้ไม่รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้วไปทานอย่างอื่นแทน เช่นดื่มน้ำเต้าหู้ หรือดื่มน้ำมะพร้าว ที่บอกว่าเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งต้องดื่มเยอะมากกว่าที่จะได้ปริมานที่เพียงพอต่อการสร้างความหนาของผนัง เพราะฉะนั้นคงไม่แนะนำการทานวิตามิน หรืออาหารอะไรเพื่อมาเสริมผนังตรงจุดนี้  หลักๆคือต้องทำให้ไข่โตในรอบธรรมชาติให้ได้ ถ้าคนไข้ไข่โตเองไม่ได้ตามรอบธรรมชาติ คุณหมออาจจะให้ยากระตุ้นไข่แทน ซึ่งจะไม่ใช่ฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยตรง เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่โต และทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหลั่งจากไข่ของเรา โอกาสที่จะแพ้หรือมีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนของตัวเราเอกก็จะยากโอกาสแพ้จะน้อยลงถ้าอย่างไรก็ทำตามที่คุณหมอแนะนำแล้วกันนะคะ และดูแลตัวเองแบบปกติทั่วไปคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์…

Read More

เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อเด็กหรือไม่?

เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อเด็กหรือไม่? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ถ้าเป็นเบาหวาน แล้วเราท้องจะเป็นอันตรายต่อเด็กไหมคะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้มีการทำงานของหลอดเลือดที่อวัยวะต่างๆ และการเมตาบอลิซึมที่ผิดปกติไป ดังนั้นหากตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะแท้ง ความดันสูงขณะตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวโตมากผิดปกติ ภาวะการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การสร้างอวัยวะต่างๆผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นแล้ว หลังคลอดทารกอาจมีภาวะน้ำตาลต่ำ หรือตัวเหลืองได้ เป็นต้น  ทั้งนี้ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับการควบคุมระดับน้ำตาลเป็นหลัก แต่อย่าเพิ่งกังวลใจคะ เพราะภาวะเบาหวานไม่ได้เป็นข้อห้ามของการตั้งครรภ์ แต่ควรมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และ ควบคุมโรคให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้ว ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกันแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์…

Read More

โรคแพนิค (Panic Disoder) กับการทำ ICSI?

โรคแพนิค (Panic Disoder) กับการทำ ICSI? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อายุ 36 ปี ตอนนี้กำลังทานยารักษาโรคแพนิค (Panic Disoder) เมื่อตอนต้นเดือนสิงหาคม พึ่งไปทำ ICSI มา ได้ไข่มา 3 ใบ และเสียทั้งหมด ไม่ได้นำไปผสมกับเชื้อ อยากถามว่ายาที่รักษาโรคแพนิคมีผลต่อไข่ไหมคะ ส่วนค่ารังไข่ตรวจแล้วมีภาวะรังไข่เสื่อมด้วยคะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : อันดับแรก น่าจะเกิดมาจากภาวะรังไข่เสื่อมก่อนเลยนะคะ มีผลทำให้ได้ไข่น้อย และมีคุณภาพที่ไม่ดี อันดับที่ 2 คือ เรื่องของยาที่รักษาอาการของโรคแพนิค (Panic Disoder) ทำให้มีผลกระทบอยู่บ้างในเรื่องการเจริญเติบโต และการตกของไข่ แต่อย่างไรก็ตามหากจะเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI แล้วนั้น ยาที่กระตุ้นค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้ไข่โตได้ ถ้าเทียบดูแล้ว พื้นฐานความยากของคนไข้น่าจะอยู่ที่ภาวะรังไข่เสื่อมมากกว่า ส่วนในเรื่องของยาที่รักษาอาการของโรคแพนิคนั้น ต้องคุยกับทางคุณหมอจิตเวชด้วย เพราะถ้าหากคนไข้หยุดยาตรงนั้น และมีผลกับโรคแพนิคที่เรารักษาอาการอยู่…

Read More

โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) หลังผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ คือช่วงเวลาไหนที่พร้อมมีบุตร?

โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) หลังผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์  คือช่วงเวลาไหนที่พร้อมมีบุตร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อายุ 31 ปี ผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ คุณหมอบอกว่าเป็นพังผืดเยอะมาก สามารถที่จะกลับมามีบุตรได้อีกหรือไม่ ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : การผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์มาแล้ว เค้าเรียกว่า โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) คือ ช่วงเวลาทองของการมีบุตร เวลา 6 เดือน – 1 ปี หลังจากที่ผ่าตัดไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีบุตรได้ในช่วงนี้ คือ ดีที่สุด แต่ถ้าพ้น 1 ปี ไปแล้วยังไม่มีแสดงว่าโรคของคุณค่อนข้างรุนแรง โรคช็อกโกแลตซีสต์ เป็นโรคเรื้อรังไม่มีคำว่าหายขาด เพราะว่าพังผืดมันติดอยู่กับเนื้อเยื่อในช่องท้องของคุณผู้หญิง การที่คุณหมอนั้นจะเอาออกได้ทั้งหมดแทบจะเป็นไปไม่ได้ และยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคอีกด้วย เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง…

Read More

มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้ 8 ตัว ปกติแล้วควรย้ายกี่ตัว?

มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้ 8 ตัว ปกติแล้วควรย้ายกี่ตัว? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : รบกวนปรึกษาค่ะ อายุ34 มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้8ตัว ระยะ hatching blast เกรดBทั้งหมด ไม่ได้ตรวจโครโมโซม อยากขอคำแนะนำว่าควรย้ายกี่ตัวดีคะ? จะใส่2ก็กลัวแฝด จะใส่1ก็กลัวไม่ติดค่ะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : สำหรับคนไข้รายนี้ อายุ 34 ปี ถือว่าถ้าจริงๆแล้วดูในเรื่องของอายุ อายุยังค่อนข้างน้อย โดยทั่วไปถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี และมีตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้จนถึงระยะ บลาสโตซิสได้ ก็คืออายุ 5 วันเนี่ย โอกาสที่จะติดและตั้งครรภ์เนี่ยถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียวนะคะ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใส่ตัวอ่อนเพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้น เพราะมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์เหมือนกัน และก็เป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดครรภ์แฝดโดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามอาจจะขึ้นอยู่กับประวัติอื่นๆ รวมด้วยนะคะ และก็วิจารณญาณของแพทย์เจ้าของไข้อีกทีนึง ไม่ว่าจะเป็นประวัติของปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยาก หรือว่าประวัติการรักษามาก่อนหน้านี้ตัวอ่อนที่ยังเหลืออยู่ หรือว่าตัวอ่อนที่กำลังจะใส่รอบนี้มีคุณภาพอย่างไร…

Read More

ประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติต้องการมีลูกคะ?

ประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติต้องการมีลูกคะ? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : หนูมีปัญหาประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติบ้างคะ ต้องการมีลูกมากค่ะอายุ 22 ปี? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอตา พญ. พาวรรณ ลิ้มวรพิทักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ก่อนอื่นต้องตรวจหาสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนก่อนค่ะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด  คือ ภาวะไข่ไม่ตก รองลงมาคือ ภาวะรังไข่เสื่อม หยุดทำงาน และ ความผิดปกติของต่อมใต้สมองค่ะ ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไข่ไม่ตก แพทย์จะให้ยาปรับรอบประจำเดือนก่อนค่ะ  หลังจากนั้นจะเริ่มให้รับประทานยากระตุ้นไข่และยาชักนำให้ไข่ตกค่ะ ร่วมกับการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก(ในกรณีที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน) พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยเสริมให้การตกไข่ดีขึ้นค่ะ และอาจทำให้ประจำเดือนมาเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาปรับรอบเดือนเลยค่ะ ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าภาวะรังไข่เสื่อม หยุดทำงาน  โอกาสที่ประจำเดือนจะมาเองน้อยมากค่ะ ต้องประเมินความรุนแรงก่อน ค่ะ ถ้ายังพอมีฟองไข่บ้าง แนะนำทำเด็กหลอดแก้วค่ะ แต่ถ้าเป็นแบบรังไข่หยุดทำงานโดยที่ไม่มีฟองไข่ แนะนำเป็นรับไข่บริจาคร่วมกับการทำเด็กหลอดแก้ว ในกรณีขาดประจำเดือนจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง มีทั้งการรักษาแบบ…

Read More

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คืออะไร?

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คืออะไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อยากทราบว่าภาวะ โมเซอิก (Mosaic) คืออะไร ถ้าใส่ตัวอ่อนแล้วจะมีปัญหาไหม? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ภาวะโมเซอิก (Mosaic) จะเจอได้ในกรณีที่คนไข้ทำกระบวนการ ICSI ได้ตัวอ่อน และดึงเซลล์มาตรวจแล้ว และได้ผลแล้ว เวลาแปลผล เราจะมี 3 อย่างหลักๆ คือ 1. ผลปกติ 2.ผลผิดปกติไม่แนะนำให้ใส่ตัวอ่อน 3. ภาวะโมเซอิก คือภาวะที่มีเซลล์ตัวอ่อนดี และไม่ดีปนกันโดยปกติแล้วในการดึงเซลล์ตัวอ่อนเค้าจะดึงมาตรวจทุกโครโมโซม แล้วดูว่ามีความผิดปกติกี่เปอร์เซ็น ถ้าสมมุติความผิดปกตินั้นน้อยกว่า 20% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนนั้นเป็นปกติ แต่ถ้าความผิดปกตินั้นมากกว่า 80% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนตัวนี้ผิดปกติ ค่าโมเซอิกจะอยู่ที่ 20%-80% ปกติคุณหมอจะดูเปอร์เซ็นด้วย ถ้าสมมุติโมเซอิกแค่ 25%-30% คือน้อยๆ น่าจะมีโอกาสที่ตัวอ่อนนี้พัฒนาให้เซลล์ดีเยอะกว่าไม่ดีได้ และกลับมาเป็นปกติได้ก็จะลองใส่ดู…

Read More