Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 2561

ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 2561 #เนื้องอกในมดลูกทำให้มีบุตรยากจริงหรือ #โรคอะไรบ้างที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก 👉 ไขข้อข้องใจปัญหาผู้มีบุตรยาก โดย คุณหมอ มิ้งค์ ปรวัน ตั้งธรรม👩‍⚕️ 📍 ใน LIVE สด วันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. 61 เวลา 16.00 -16.30 น. นี้ แล้วพบกันนะคะ #GFCbangkok #การแช่แข็งไข่ #มีบุตรยาก #IVF #เด็กหลอดแก้ว ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ☎ Tel : 0974845335 หรือ 02-108-6413-14 📠…

Read More

การเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อน สำหรับคนที่ไวต่อฮอร์โมน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

การเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อน สำหรับคนที่ไวต่อฮอร์โมน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ตอนนี้อายุ 36 ปี ถ้าต้องการเตรียมผนังก่อนใส่ตัวอ่อนรอบธรรมชาติ แบบไม่ใช้ฮอร์โมน เพราะว่าเป็นคนไวต่อฮอร์โมน คุณหมอแจ้งว่าให้ใส่ตัวอ่อนแบบไม่ต้องใช้ฮอร์โมน อยากทราบว่าต้องทาน หรือบำรุงอะไรเป็นพิเศษไหมคะ เพื่อให้ผนังหนาตามเกณฑ์ โดยที่ไม่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : การเตรียมผนังแบบธรรมชาติ จะต้องลุ้นนิดนึงนะคะ ลุ้นในความหมายนี้ก็คือ มีโอกาสที่จะมีไข่โตเองในรอบนี้หรือไม่ ถ้าบ้างคนมีปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกตามธรรมชาติถ้าไม่มีไข่โตมา ผนังก็จะหนายากอันนี้คือ ข้อเสียของการเตรียมด้วยวิธีธรรมชาติ มียา หรือวิตามินอื่นๆที่ช่วยได้ชัดเจนไหม ก็ยังไม่มีตัวไหนที่มาทดแทนได้ หลักๆที่เราต้องการเตรียมผนังก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่จะช่วยเพิ่มความหนา ถึงคนไข้ไม่รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้วไปทานอย่างอื่นแทน เช่นดื่มน้ำเต้าหู้ หรือดื่มน้ำมะพร้าว ที่บอกว่าเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งต้องดื่มเยอะมากกว่าที่จะได้ปริมานที่เพียงพอต่อการสร้างความหนาของผนัง เพราะฉะนั้นคงไม่แนะนำการทานวิตามิน หรืออาหารอะไรเพื่อมาเสริมผนังตรงจุดนี้  หลักๆคือต้องทำให้ไข่โตในรอบธรรมชาติให้ได้ ถ้าคนไข้ไข่โตเองไม่ได้ตามรอบธรรมชาติ คุณหมออาจจะให้ยากระตุ้นไข่แทน ซึ่งจะไม่ใช่ฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยตรง เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่โต และทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหลั่งจากไข่ของเรา โอกาสที่จะแพ้หรือมีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนของตัวเราเอกก็จะยากโอกาสแพ้จะน้อยลงถ้าอย่างไรก็ทำตามที่คุณหมอแนะนำแล้วกันนะคะ และดูแลตัวเองแบบปกติทั่วไปคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์…

Read More

เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อเด็กหรือไม่?

เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อเด็กหรือไม่? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ถ้าเป็นเบาหวาน แล้วเราท้องจะเป็นอันตรายต่อเด็กไหมคะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้มีการทำงานของหลอดเลือดที่อวัยวะต่างๆ และการเมตาบอลิซึมที่ผิดปกติไป ดังนั้นหากตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะแท้ง ความดันสูงขณะตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวโตมากผิดปกติ ภาวะการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การสร้างอวัยวะต่างๆผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นแล้ว หลังคลอดทารกอาจมีภาวะน้ำตาลต่ำ หรือตัวเหลืองได้ เป็นต้น  ทั้งนี้ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับการควบคุมระดับน้ำตาลเป็นหลัก แต่อย่าเพิ่งกังวลใจคะ เพราะภาวะเบาหวานไม่ได้เป็นข้อห้ามของการตั้งครรภ์ แต่ควรมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และ ควบคุมโรคให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้ว ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกันแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์…

Read More

โรคแพนิค (Panic Disoder) กับการทำ ICSI?

โรคแพนิค (Panic Disoder) กับการทำ ICSI? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อายุ 36 ปี ตอนนี้กำลังทานยารักษาโรคแพนิค (Panic Disoder) เมื่อตอนต้นเดือนสิงหาคม พึ่งไปทำ ICSI มา ได้ไข่มา 3 ใบ และเสียทั้งหมด ไม่ได้นำไปผสมกับเชื้อ อยากถามว่ายาที่รักษาโรคแพนิคมีผลต่อไข่ไหมคะ ส่วนค่ารังไข่ตรวจแล้วมีภาวะรังไข่เสื่อมด้วยคะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : อันดับแรก น่าจะเกิดมาจากภาวะรังไข่เสื่อมก่อนเลยนะคะ มีผลทำให้ได้ไข่น้อย และมีคุณภาพที่ไม่ดี อันดับที่ 2 คือ เรื่องของยาที่รักษาอาการของโรคแพนิค (Panic Disoder) ทำให้มีผลกระทบอยู่บ้างในเรื่องการเจริญเติบโต และการตกของไข่ แต่อย่างไรก็ตามหากจะเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI แล้วนั้น ยาที่กระตุ้นค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้ไข่โตได้ ถ้าเทียบดูแล้ว พื้นฐานความยากของคนไข้น่าจะอยู่ที่ภาวะรังไข่เสื่อมมากกว่า ส่วนในเรื่องของยาที่รักษาอาการของโรคแพนิคนั้น ต้องคุยกับทางคุณหมอจิตเวชด้วย เพราะถ้าหากคนไข้หยุดยาตรงนั้น และมีผลกับโรคแพนิคที่เรารักษาอาการอยู่…

Read More

โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) หลังผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ คือช่วงเวลาไหนที่พร้อมมีบุตร?

โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) หลังผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์  คือช่วงเวลาไหนที่พร้อมมีบุตร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อายุ 31 ปี ผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ คุณหมอบอกว่าเป็นพังผืดเยอะมาก สามารถที่จะกลับมามีบุตรได้อีกหรือไม่ ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : การผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์มาแล้ว เค้าเรียกว่า โกลเด้น พีเรียด (Golden Period) คือ ช่วงเวลาทองของการมีบุตร เวลา 6 เดือน – 1 ปี หลังจากที่ผ่าตัดไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีบุตรได้ในช่วงนี้ คือ ดีที่สุด แต่ถ้าพ้น 1 ปี ไปแล้วยังไม่มีแสดงว่าโรคของคุณค่อนข้างรุนแรง โรคช็อกโกแลตซีสต์ เป็นโรคเรื้อรังไม่มีคำว่าหายขาด เพราะว่าพังผืดมันติดอยู่กับเนื้อเยื่อในช่องท้องของคุณผู้หญิง การที่คุณหมอนั้นจะเอาออกได้ทั้งหมดแทบจะเป็นไปไม่ได้ และยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคอีกด้วย เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง…

Read More

มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้ 8 ตัว ปกติแล้วควรย้ายกี่ตัว?

มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้ 8 ตัว ปกติแล้วควรย้ายกี่ตัว? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : รบกวนปรึกษาค่ะ อายุ34 มีตัวอ่อนที่ฟรีสไว้8ตัว ระยะ hatching blast เกรดBทั้งหมด ไม่ได้ตรวจโครโมโซม อยากขอคำแนะนำว่าควรย้ายกี่ตัวดีคะ? จะใส่2ก็กลัวแฝด จะใส่1ก็กลัวไม่ติดค่ะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : สำหรับคนไข้รายนี้ อายุ 34 ปี ถือว่าถ้าจริงๆแล้วดูในเรื่องของอายุ อายุยังค่อนข้างน้อย โดยทั่วไปถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี และมีตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้จนถึงระยะ บลาสโตซิสได้ ก็คืออายุ 5 วันเนี่ย โอกาสที่จะติดและตั้งครรภ์เนี่ยถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียวนะคะ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใส่ตัวอ่อนเพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้น เพราะมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์เหมือนกัน และก็เป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดครรภ์แฝดโดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามอาจจะขึ้นอยู่กับประวัติอื่นๆ รวมด้วยนะคะ และก็วิจารณญาณของแพทย์เจ้าของไข้อีกทีนึง ไม่ว่าจะเป็นประวัติของปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยาก หรือว่าประวัติการรักษามาก่อนหน้านี้ตัวอ่อนที่ยังเหลืออยู่ หรือว่าตัวอ่อนที่กำลังจะใส่รอบนี้มีคุณภาพอย่างไร…

Read More

ประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติต้องการมีลูกคะ?

ประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติต้องการมีลูกคะ? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : หนูมีปัญหาประจำเดือนไม่มา 1 ปี 6 เดือน จะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติบ้างคะ ต้องการมีลูกมากค่ะอายุ 22 ปี? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอตา พญ. พาวรรณ ลิ้มวรพิทักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ก่อนอื่นต้องตรวจหาสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนก่อนค่ะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด  คือ ภาวะไข่ไม่ตก รองลงมาคือ ภาวะรังไข่เสื่อม หยุดทำงาน และ ความผิดปกติของต่อมใต้สมองค่ะ ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไข่ไม่ตก แพทย์จะให้ยาปรับรอบประจำเดือนก่อนค่ะ  หลังจากนั้นจะเริ่มให้รับประทานยากระตุ้นไข่และยาชักนำให้ไข่ตกค่ะ ร่วมกับการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก(ในกรณีที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน) พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยเสริมให้การตกไข่ดีขึ้นค่ะ และอาจทำให้ประจำเดือนมาเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาปรับรอบเดือนเลยค่ะ ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าภาวะรังไข่เสื่อม หยุดทำงาน  โอกาสที่ประจำเดือนจะมาเองน้อยมากค่ะ ต้องประเมินความรุนแรงก่อน ค่ะ ถ้ายังพอมีฟองไข่บ้าง แนะนำทำเด็กหลอดแก้วค่ะ แต่ถ้าเป็นแบบรังไข่หยุดทำงานโดยที่ไม่มีฟองไข่ แนะนำเป็นรับไข่บริจาคร่วมกับการทำเด็กหลอดแก้ว ในกรณีขาดประจำเดือนจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง มีทั้งการรักษาแบบ…

Read More

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คืออะไร?

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คืออะไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อยากทราบว่าภาวะ โมเซอิก (Mosaic) คืออะไร ถ้าใส่ตัวอ่อนแล้วจะมีปัญหาไหม? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ภาวะโมเซอิก (Mosaic) จะเจอได้ในกรณีที่คนไข้ทำกระบวนการ ICSI ได้ตัวอ่อน และดึงเซลล์มาตรวจแล้ว และได้ผลแล้ว เวลาแปลผล เราจะมี 3 อย่างหลักๆ คือ 1. ผลปกติ 2.ผลผิดปกติไม่แนะนำให้ใส่ตัวอ่อน 3. ภาวะโมเซอิก คือภาวะที่มีเซลล์ตัวอ่อนดี และไม่ดีปนกันโดยปกติแล้วในการดึงเซลล์ตัวอ่อนเค้าจะดึงมาตรวจทุกโครโมโซม แล้วดูว่ามีความผิดปกติกี่เปอร์เซ็น ถ้าสมมุติความผิดปกตินั้นน้อยกว่า 20% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนนั้นเป็นปกติ แต่ถ้าความผิดปกตินั้นมากกว่า 80% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนตัวนี้ผิดปกติ ค่าโมเซอิกจะอยู่ที่ 20%-80% ปกติคุณหมอจะดูเปอร์เซ็นด้วย ถ้าสมมุติโมเซอิกแค่ 25%-30% คือน้อยๆ น่าจะมีโอกาสที่ตัวอ่อนนี้พัฒนาให้เซลล์ดีเยอะกว่าไม่ดีได้ และกลับมาเป็นปกติได้ก็จะลองใส่ดู…

Read More

ถ้าทำivf ผลตรวจเลือดว่าท้องค่า Beta HCG ควรอยู่ที่เท่าไร?

ถ้าทำivf ผลตรวจเลือดว่าท้องค่า Beta HCG ควรอยู่ที่เท่าไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ถ้าทำivf ผลตรวจเลือดว่าท้องค่า Beta HCG ควรมีกี่%ค่ะ ขอบคุณค่ะ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ก่อนอื่นเลยขอแก้หน่วยของ ค่า Beta HCG นะคะ ไม่ใช่หน่วยเป็นเปอร์เซน แต่เป็น mIU/ml. ทีนี่เนี่ยค่าที่ถือว่า positive มีการตั้งครรภ์ก็คือส่วนใหญ่จะตัดที่มากกว่า 5 mIU/ml. แต่ว่าการทำ IVF ผลเลือดควรจะขึ้นเท่าไร จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับระยะตัวอ่อนที่ใส่ ว่าใส่ตัวอ่อน Day อะไร และหลังจากใส่ตัวอ่อนกี่วันถึงเจาะค่า Beta HCG ซึ่งตัวเลขเนี่ยค่อนข้างมีความกว้างเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใส่ตัวอ่อนระยะ 5 วัน เจาะเลือดหลังจากที่ใส่ตัวอ่อนไปประมาณ 7…

Read More

ทำ IUI รอบแรกไม่ติด จะทำแบบไหนต่อได้บ้าง?

ทำ IUI รอบแรกไม่ติด จะทำแบบไหนต่อได้บ้าง? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ทำ IUI รอบแรกไม่ติด ทั้งคู่ปกติดีไม่มีอะไร อายุ 36 ปี จะทำแบบไหนได้บ้างอีกค่ะ เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอตา พญ. พาวรรณ ลิ้มวรพิทักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : จริงๆแล้วสามารถเลือกทำวิธีเดิมหรือเปลี่ยนวิธีก็ได้ค่ะ คู่สมรสที่ฝายหญิงอายุ 36 ปี โอกาสการตั้งครรภ์ โดยวิธี IUI จะลดเหลือประมาณ 5-7 % ค่ะ(เทียบกับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงอายุ 25-30 ปี อัตราการการตั้งครรภ์ด้วยวิธี IUI ประมาณ 10%) จึงแนะนำให้ทำ  IUIไม่เกิน 4-6 ครั้ง ถ้ายังไม่ตั้งครรภ์หลังจากนี้แนะนำให้เปลี่ยนวิธี เป็นการทำเด็กหลอดแก้วค่ะ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นวิธีทำเด็กหลอดแก้วเลยก็ได้ค่ะ เนื่องจากอัตราการตั้งครรภ์จะประมาณ 30-35% ซึ่งสูงกว่าวิธี IUIมากค่ะ และถ้าได้ตัวอ่อนเกรด…

Read More

ทำ ICSI ครั้งแรกไม่ติดครั้งต่อไปถ้าเพิ่มยา จะทำให้ไข่เยอะขึ้นไหม?

ทำ ICSI ครั้งแรกไม่ติดครั้งต่อไปถ้าเพิ่มยา จะทำให้ไข่เยอะขึ้นไหม? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : อายุ 37 ปี ค่าฮอร์โมน FSH 8.72 ทำ ICSI ครั้งแรกฉีดเพียวริกอน 200iu จำนวน 8 วัน ได้ไข่ 6 ใบ เป็นตัวอ่อนDAY5 จำนวน 2 ตัว ใส่รอบสด ผนัง 7.6 มิล แต่ไม่ติดคะ ถ้าทำครั้งที่ 2 เปลี่ยนยาหรือเพิ่มปริมาณยาจะทำให้ได้ไข่เยอะขึ้น จำนวนตัวอ่อนเยอะขึ้นไหมคะ ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : ฮอร์โมนFSH 8.72 ก็ไม่ได้ดูแย่มากนะ แต่ว่าถ้าไข่ได้แค่ 6 ใบ คือว่าค่อนข้างน้อย หมอไม่แน่ใจว่าจริงๆ…

Read More

การทานยากันแท้งมีผลกับความสมบูรณ์เด็กในท้องไหม?

การทานยากันแท้งมีผลกับความสมบูรณ์เด็กในท้องไหม? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : การทานยากันแท้งมีผลกับความสมบูรณ์เด็กในท้องไหมค่ะ ทานและฉีดตั้งแต่5วีคจนถึง12วีค หลังจากนั่นตอน14w มีเลือดออกเล็กน้อย หมอเลยให้ทานยากันแท้งต่ออีก2อาทิตย์? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : จริงๆแล้วข้อมูลในปัจจุบันการใช้ยากันแท้งเนี่ยก็ยังไม่ได้มีผลว่ามีอันตรายต่อตัวทารกในครรภ์อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นถ้าใช้เท่าที่จำเป็น และก็อยู่ในระดับที่ไม่มากจนเกินไปเนี่ย โดยทั่วไปแล้วถือว่ายังใช้ได้อีกอย่างปลอดภัยคะ ไม่ต้องกังวลนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอโย พญ. ภัทราพร ชีระอารี ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้ว ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกันแบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center (GFC) โดย ผศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel : 0974845335 หรือ 02-108-6413-14 Fax: 02-108-6484 IG: gfc.bangkok Inbox : http://m.me/GFC.Bangkok Line@ : @gfcclinic หรือคลิกที่ https://line.me/R/ti/p/%40gfcclinic E-mail…

Read More