Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

อยากได้ลูกสาวต้องทำอย่างไร?

อยากได้ลูกสาวต้องทำอย่างไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ปัจจุบันอายุ 27 ปี ดิฉันกับคุณสามีอยากได้ลูกสาวมากเลยคะ คุณหมอมีวิธีการที่จะแนะนำบ้างไหมคะ ว่าต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามเข้ามามากอีกเช่นกัน ถ้าต้องการที่จะมีเองเป็นแบบธรรมชาติ อาจจะเคยได้ยินข้อมูลว่า อยากมีลูกสาวให้มีเพศ สัมพันธ์ทุกวันในช่วง 2-3 วันก่อนการตกไข่ หรือการสวนล้างช่องคลอดให้มีสภาวะเป็นกรดสูง สเปิร์มเพศหญิงทนต่อสภาวะการเป็นกรดได้ดีกว่าก็จะอยู่รอดได้เยอะกว่าสเปิร์มเพศชาย และสามารถว่ายไปถึงไข่ได้ ซึ่งข้อมมูลเหล่านี้ยังไม่มีใครรับรองผล และยังไม่ได้การยอมรับจากทางการแพทย์ว่ารับรองผล และใช้ได้จริง เพราะฉะนั้นการเลือกเพศด้วยวิธีทางธรรมชาตินั้น ผลอยู่ที่ 50%-50% แต่ทางการแพทย์นั้นจะทำได้จากการทำ IUI หรือผสมเทียมคัดเลือก เป็นเพียงการเพิ่มโอกาสจากปกติ ลูกสาว 50% ลูกชาย 50% แต่ถ้ามีการเตรียมน้ำเชื้อให้เป็นเพศที่เราต้องการจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการได้ลูกสาวได้ถึง 70% -80% แต่ทั้งนี้คุณผู้หญิงต้องเพื่อใจไว้ด้วย เพราะไม่มีอะไรที่แน่นอนรับรองผลได้ 100% เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับคุณผู้หญิง และคุณผู้ชายที่อยากได้ลูกสาวตัวน้อยๆ น่ารัก ไว้เลี้ยงดู สนใจที่จะมารับคำปรึกษาหรือยังคะ หรือยังคำถามที่อยากกจะถามเพิ่มเติม…

Read More

ภาวะมีบุตรยาก ชนิดทุติยภูมิ Secondary infertility คืออะไร?

ภาวะมีบุตรยาก ชนิดทุติยภูมิ Secondary infertility คืออะไร? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ปัจจุบันอายุ 28 ปี เคยท้องลมมาแล้ว 1 ครั้ง และปัจจุบันมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  ต้องทำอย่างไรดี ? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : จากคำถามนี้คุณผู้หญิงอายุยังไม่เยอะ และยังมีเพศสัมพันธ์กับคุณสามีอย่างสม่ำเสมออีกด้วย คุณหมอคิดว่าควรเข้ามาปรึกษาที่คลินิกได้แล้วนะคะ เพราะว่าน่าจะเข้าเกณฑ์ ผู้มีบุตรยากแบบ Secondary infertility หมายถึง คู่สมรสดังกล่าวเคยมีบุตร หรือเคยตั้งครรภ์มาก่อน แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก ควรที่จะมาพบแพทย์ทั้งคุณผู้หญิง และคุณผู้ชาย จะได้ทราบถึงปัญหา และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งคุณผู้หญิงอายุน้อยก็จริง แต่ปัญหาอาจจะซ่อนตัวอยู่ เพราะฉะนั้นควรที่จะเข้ามาตรวจเช็คดูนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้าง รู้อย่างนี้แล้วคุณผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเข้าเกณฑ์ ผู้มีบุตรยากยังไม่รีบเข้ามาตรวจกันอีกหรือคะ คุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์…

Read More

ผ่าตัดท้องนอกมดลูก และท่อนำไข่แล้วอีกนานไหมถึงทำ ICSI ได้?

ผ่าตัดท้องนอกมดลูก และท่อนำไข่แล้วอีกนานไหมถึงทำ ICSI ได้? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ปัจจุบันอายุ 36 ปีเคยผ่าตัดท้องนอกมดลูกมา 1 ครั้ง และล่าสุดเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้ผ่าตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง อยากทราบว่าอีกนานไหมถึงสามารถทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือเด็กหลอดแก้วได้? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : จากเคสนี้คุณผู้หญิงคงน่าจะผ่าตัดท่อนำไข่ที่ละครั้ง แต่ได้ผ่าไปทั้ง 2 ข้าง เพราะฉะนั้นอย่างแรกเลยคือต้องรอให้แผลหายปกติก่อนโดยทั่วไปแผลจาการผ่าตัดท่อนำไข่ไม่ได้เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่จะไปรบกวนรังไข่ และมดลูก ประมาณ 7 วันแผลด้านนอกก็น่าจะหาย ส่วนแผลด้านในน่าจะประมาน 1 เดือน จากนั้นรอประจำเดือนให้มาปกติก่อน โดยรวมแล้วก็จะประมาณ 2 เดือน ถึงจะมาเริ่มกระบวนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือเด็กหลอดแก้ว เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live…

Read More

โรค PCOS (Polycystic ovary syndrome) สามารถมีบุตรได้ไหม?

โรค PCOS (Polycystic ovary syndrome) สามารถมีบุตรได้ไหม? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ปัจจุบันอายุ 27 ปี เป็นโรค PCOS แต่อยากที่จะมีบุตรจะต้องทำอย่างไรบ้าง? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : โรค PCOS (Polycystic ovary syndrome) หรือกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก จุดสำคัญที่สุดของโรคนี้ คือ ไข่ไม่ตก แต่ถ้าเราทำให้ไข่ตกได้ก็จะมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ ทั้งนี้น้ำเชื้อของคุณผู้ชายต้องปกติดีด้วย เริ่มด้วยวิธีการง่ายๆ คือคุณผู้หญิงมาปรึกษาแพทย์ รับประทานยากระตุ้นรังไข่ ตรวจอัลตร้าซาวด์ และนับวันไข่ตก จากนั้นจึงกลับไปมีเพศสัมพันธ์กันเองได้ หรือจะรักษาด้วยวิธีฉีดน้ำเชื้อ…

Read More

เนื้องอกในมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้หรือไม่?

เนื้องอกในมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้หรือไม่? คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า Q : ตรวจพบว่ามีเนื้องอกอยู่ภายในมดลูกขณะตั้งครรภ์ และเมื่อเดือนมิถุนายน 2018 ได้แท้งลูก เมื่ออายุครรภ์ได้ 11 สัปดาห์ ถามว่า เนื้องอกในมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้หรือไม่? เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center A : จากคำถาม เนื้องอกที่เกิดขึ้นในมดลูกกับภาวะการแท้งบุตรนั้นไม่สัมพันธ์กันนะคะ เนื่องจากถ้าเนื้องอกที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์จะทำให้ทารกฝังตัวไม่ได้ตั้งแต่แรกแล้ว แต่ถ้าเนื้องอกที่จะทำให้มีบุตรยาก คือ เนื้องอกที่เบียดเข้าไปภายในโพรงมดลูกมากกว่า ซึ่งถ้าเนื้องอกเกิดขึ้นในบริเวณรอบๆ จะไม่มีผลกับการฝังตัวของตัวอ่อน จากเคสนี้ ทารกมีการฝังตัวได้แล้ว และมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปแล้ว 11 สัปดาห์ แต่ไปยุติการเจริญเติบโตโดยมากแล้ว 80% - 90% เป็นความผิดปกติของตัวทารกเองมากกว่าที่โครโมโซมอาจจะไม่สมบูรณ์ ทางธรรมชาติคัดสรรว่าทารกไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้ จึงยุติการเจริญเติบโต แต่ไม่ใช่ที่เนื้องอกนั้นจะไปทำให้หัวใจของทารกหยุดเต้น เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วว่า เนื้องอกในมดลูกนั้น ไม่สามารถทำให้แท้งบุตรได้ ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th ------------------------------------------------------- ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center…

Read More

อิ๊กซี่ (ICSI) รักษาผู้มีบุตรยาก ตอบโจทย์คู่สมรสยุคใหม่

อิ๊กซี่ (ICSI) รักษาผู้มีบุตรยาก ตอบโจทย์คู่สมรสยุคใหม่ เรื่องการมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจสำหรับคู่สมรสหลายๆ คู่แต่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้ปัญหานี้มีทางออก หนึ่งในนั้นคือ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือ Intracytoplasmic Sperm Injection ที่กำลังได้รับความนิยมมาก แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม หรือ หมอมิ้งค์ สูติ-นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ปัจจุบันประจำอยู่ที่ เจเนซีสเฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (Genesis Fertility Center: GFC) ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากแบบครบวงจร เผยถึงสาเหตุของผู้มีบุตรยาก ว่าหลักๆ แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ สาเหตุจากทางฝ่ายหญิง เช่น มีความผิดปกติของรังไข่ ซึ่งมีหลายกลุ่มโรค เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ พอมีซีสต์ที่รังไข่ก็ทำให้กระบวนการไข่ตกยากขึ้น หรือคนที่มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง โรคถุงน้ำรังไข่ นอกจากนั้นอาจมีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีเนื้องอกมดลูกที่จะรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน และกลุ่มฮอร์โมนผิดปกติ ที่สำคัญคือ อายุของฝ่ายหญิง ที่จะมีผลต่อคุณภาพของไข่ ยิ่งอายุมากขึ้นคุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดลง ส่วนสาเหตุของฝ่ายชาย หลักๆ เลย คือเรื่องน้ำเชื้อ ถ้าน้ำเชื้อมีจำนวนตัวอสุจิน้อย เคลื่อนไหวไม่ดีหรือรูปร่างผิดปกติ จะทำให้มีลูกยาก หรือบางคนก็รุนแรงถึงขั้นเป็นหมัน…

Read More

คู่ของเราถือว่ามีบุตรยากแล้วหรือยังนะ?

คู่ของเราถือว่ามีบุตรยากแล้วหรือยังนะ ? คู่สมรสหลายคู่มีคำถามที่คาใจว่าต้องอยู่ด้วยกันมานานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคู่สมรสที่มีบุตรยาก คู่ของเราถือว่าเข้าเกณฑ์แล้วหรือยัง แล้วเมื่อไหร่นะที่ถึงเวลาที่ควรจะไปพบแพทย์ได้แล้ว และเราควรจะเริ่มกระบวนการเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF / ICSI เลยหรือไม่ คู่สมรสจะถือว่ามีภาวะมีบุตรยากก็ต่อเมื่อแต่งงานอยู่ด้วยกันมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยไม่ได้คุยกำเนิดเลยมานานกว่า 1 ปี แล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถึงจะเรียกว่าคู่ของคุณมีภาวะมีบุตรยาก หากถามว่าเมื่อไหร่ควรจะมาปรึกษาคุณหมอแล้ว จริงๆต้องบอกว่าการตรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการมีบุตรสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่เกณฑ์ภาวะมีบุตรยาก เหมือนเป็นการ check up ร่างกายเบื้องต้นไว้ก่อนว่าเรามีแนวโน้มที่จะมีบุตรยาก หรือมีโรคอะไรที่ต้องเตรียมตัวก่อนจะมีบุตรหรือไม่ หรือร่างกายยังขาดภูมิคุ้มกันใดบ้างที่ต้องรีบฉีดวัคซีนไว้ก่อนจะปล่อยมีบุตร แต่ในกรณีที่เราเข้าเกณฑ์ภาวะมีบุตรยากแล้วก็ไม่ควรรอช้า สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากหรือแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้เลยส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากแนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เลยคือกลุ่มหญิงที่แต่งงานและอายุเกิน 35 ปีแล้ว เมื่อตั้งใจปล่อยมีบุตรไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 1 ปี เพียงแค่ 6 เดือนหากปล่อยแล้วลูกยังไม่มาตามนัด แนะนำให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับคุณหมอได้เลย เพราะยิ่งปล่อยให้นานไปอายุที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้จำนวนไข่และที่สำคัญคือคุณภาพไข่ลดน้อยถอยลงไปทุกที หากคู่ใดรู้ตัวว่าเริ่มเข้าเกณฑ์จะมีลูกยากแล้วก็อย่ารอช้า รีบเดินหน้าปรึกษาแพทย์เพื่อลูกน้อยที่น่ารักของเรากันค่ะ   ก่อนเข้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? อันที่จริงแล้วไม่อยากให้คนไข้กังวลมากว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ช่วงไหนถึงพบแพทย์ได้ ต้องรอมีประจำเดือนมาก่อนหรือไม่ เพราะในครั้งแรกที่ต้องการเข้าปรึกษาคุณหมอ แนะนำเอาฤกษ์สะดวกจะดีที่สุด เพราะฝ่ายหญิงถึงแม่ไม่ใช่วันที่ประจำเดือนมา คุณหมอสามารถตรวจอัลตราซาวด์เบื้องต้นเพื่อประเมินมดลูกและรังไข่ก่อนได้ว่ามีโรคหรือภาวะอะไรที่ต้องแก้ไขก่อนการมีบุตรหรือไม่ ส่วนฝ่ายชายเองตามหลักแล้วควรงดหลั่งน้ำอสุจิก่อนมาเก็บตรวจเป็นเวลา 3-5 วัน แต่หากคุณผู้ชายมีภาระงานมาก หรือไม่สะดวกในการเดินทางไปมาหลายครั้งก็สามารถเก็บน้ำอสุจิตรวจได้แม้ไม่ได้งดหลั่งน้ำอสุจิมาตามเกณฑ์ก็ตาม หากคุณหมอแนะนำให้เจาะเลือดก่อนเริ่มการรักษาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องงดน้ำงดอาหารมาก่อนสามารถเจาะเลือดได้เลย เนื่องจากในการพบแพทย์ครั้งแรกเราจะเน้นไปที่การพูดคุย ตรวจร่างกายและตรวจเลือดเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากและวางแนวทางการรักษาต่อไป…

Read More

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรัดเข็มขัดนิรภัยขณะเดินทางหรือไม่?

ผลการวิจัยจากหลากหลายสถาบันพบว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะเดินทางของคุณแม่จะสามารถลดความเสี่ยง …อ่านต่อ

Read More

คู่สมรสคู่ไหนที่เหมาะสมกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการผสมเทียม

วิธี​การผสมเทียม หรือการฉีดเชื้อ คือการฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่ได้จากการคัดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกฝ่ายหญิง …อ่านต่อ

Read More

ข้อดีของการเป็นคุณแม่ Fulltime

คุณแม่ Fulltime หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกเต็มเวลา จะได้เห็นพัฒนาการทุกก้าวของลูกอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะส่งผลให้ลูกอารมณ์ดี และมีความมั่นคงทางอารมณ์ค่ะ …อ่านต่อ

Read More