เนื้องอกในมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้หรือไม่?
คำถามจาก Facebook Live ที่แฟนเพจจากทางบ้านถามกันเข้ามาว่า
Q : ตรวจพบว่ามีเนื้องอกอยู่ภายในมดลูกขณะตั้งครรภ์ และเมื่อเดือนมิถุนายน 2018 ได้แท้งลูก
เมื่ออายุครรภ์ได้ 11 สัปดาห์ ถามว่า เนื้องอกในมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้หรือไม่?
เรามาฟังคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากประจำ GFC Genesis Fertility Center
A : จากคำถาม เนื้องอกที่เกิดขึ้นในมดลูกกับภาวะการแท้งบุตรนั้นไม่สัมพันธ์กันนะคะ
เนื่องจากถ้าเนื้องอกที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์จะทำให้ทารกฝังตัวไม่ได้ตั้งแต่แรกแล้ว แต่ถ้าเนื้องอกที่จะทำให้มีบุตรยาก คือ เนื้องอกที่เบียดเข้าไปภายในโพรงมดลูกมากกว่า ซึ่งถ้าเนื้องอกเกิดขึ้นในบริเวณรอบๆ จะไม่มีผลกับการฝังตัวของตัวอ่อน จากเคสนี้ ทารกมีการฝังตัวได้แล้ว และมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปแล้ว 11 สัปดาห์ แต่ไปยุติการเจริญเติบโตโดยมากแล้ว 80% - 90%
เป็นความผิดปกติของตัวทารกเองมากกว่าที่โครโมโซมอาจจะไม่สมบูรณ์ ทางธรรมชาติคัดสรรว่าทารกไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้ จึงยุติการเจริญเติบโต แต่ไม่ใช่ที่เนื้องอกนั้นจะไปทำให้หัวใจของทารกหยุดเต้น
เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านคำตอบจากคุณหมอมิ้งค์ ที่ตอบข้อสงสัยกันไปแล้วว่า เนื้องอกในมดลูกนั้น ไม่สามารถทำให้แท้งบุตรได้ ถ้าคุณผู้อ่านสนใจตั้งกระทู้ถาม-ตอบกับคุณหมอมิ้งค์แบบสดๆ สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/GFC.Bangkok
ในช่วง Facebook Live หรือติดตามอ่านถาม-ตอบได้จากทางหน้าเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th
-------------------------------------------------------
ใส่ใจในความสำเร็จต้อง Genesis Fertility Center…
อิ๊กซี่ (ICSI) รักษาผู้มีบุตรยาก ตอบโจทย์คู่สมรสยุคใหม่
เรื่องการมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจสำหรับคู่สมรสหลายๆ คู่แต่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้ปัญหานี้มีทางออก หนึ่งในนั้นคือ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือ Intracytoplasmic Sperm Injection ที่กำลังได้รับความนิยมมาก
แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม หรือ หมอมิ้งค์ สูติ-นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ปัจจุบันประจำอยู่ที่ เจเนซีสเฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (Genesis Fertility Center: GFC) ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากแบบครบวงจร เผยถึงสาเหตุของผู้มีบุตรยาก ว่าหลักๆ แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ สาเหตุจากทางฝ่ายหญิง เช่น มีความผิดปกติของรังไข่ ซึ่งมีหลายกลุ่มโรค เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ พอมีซีสต์ที่รังไข่ก็ทำให้กระบวนการไข่ตกยากขึ้น หรือคนที่มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง โรคถุงน้ำรังไข่ นอกจากนั้นอาจมีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีเนื้องอกมดลูกที่จะรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน และกลุ่มฮอร์โมนผิดปกติ ที่สำคัญคือ อายุของฝ่ายหญิง ที่จะมีผลต่อคุณภาพของไข่ ยิ่งอายุมากขึ้นคุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดลง ส่วนสาเหตุของฝ่ายชาย หลักๆ เลย คือเรื่องน้ำเชื้อ ถ้าน้ำเชื้อมีจำนวนตัวอสุจิน้อย เคลื่อนไหวไม่ดีหรือรูปร่างผิดปกติ จะทำให้มีลูกยาก หรือบางคนก็รุนแรงถึงขั้นเป็นหมัน…
คู่ของเราถือว่ามีบุตรยากแล้วหรือยังนะ ?
คู่สมรสหลายคู่มีคำถามที่คาใจว่าต้องอยู่ด้วยกันมานานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคู่สมรสที่มีบุตรยาก คู่ของเราถือว่าเข้าเกณฑ์แล้วหรือยัง แล้วเมื่อไหร่นะที่ถึงเวลาที่ควรจะไปพบแพทย์ได้แล้ว และเราควรจะเริ่มกระบวนการเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF / ICSI เลยหรือไม่ คู่สมรสจะถือว่ามีภาวะมีบุตรยากก็ต่อเมื่อแต่งงานอยู่ด้วยกันมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยไม่ได้คุยกำเนิดเลยมานานกว่า 1 ปี แล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถึงจะเรียกว่าคู่ของคุณมีภาวะมีบุตรยาก หากถามว่าเมื่อไหร่ควรจะมาปรึกษาคุณหมอแล้ว จริงๆต้องบอกว่าการตรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการมีบุตรสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่เกณฑ์ภาวะมีบุตรยาก เหมือนเป็นการ check up ร่างกายเบื้องต้นไว้ก่อนว่าเรามีแนวโน้มที่จะมีบุตรยาก หรือมีโรคอะไรที่ต้องเตรียมตัวก่อนจะมีบุตรหรือไม่ หรือร่างกายยังขาดภูมิคุ้มกันใดบ้างที่ต้องรีบฉีดวัคซีนไว้ก่อนจะปล่อยมีบุตร แต่ในกรณีที่เราเข้าเกณฑ์ภาวะมีบุตรยากแล้วก็ไม่ควรรอช้า สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากหรือแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้เลยส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากแนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เลยคือกลุ่มหญิงที่แต่งงานและอายุเกิน 35 ปีแล้ว เมื่อตั้งใจปล่อยมีบุตรไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 1 ปี เพียงแค่ 6 เดือนหากปล่อยแล้วลูกยังไม่มาตามนัด แนะนำให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับคุณหมอได้เลย เพราะยิ่งปล่อยให้นานไปอายุที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้จำนวนไข่และที่สำคัญคือคุณภาพไข่ลดน้อยถอยลงไปทุกที หากคู่ใดรู้ตัวว่าเริ่มเข้าเกณฑ์จะมีลูกยากแล้วก็อย่ารอช้า รีบเดินหน้าปรึกษาแพทย์เพื่อลูกน้อยที่น่ารักของเรากันค่ะ
ก่อนเข้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
อันที่จริงแล้วไม่อยากให้คนไข้กังวลมากว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ช่วงไหนถึงพบแพทย์ได้ ต้องรอมีประจำเดือนมาก่อนหรือไม่ เพราะในครั้งแรกที่ต้องการเข้าปรึกษาคุณหมอ แนะนำเอาฤกษ์สะดวกจะดีที่สุด เพราะฝ่ายหญิงถึงแม่ไม่ใช่วันที่ประจำเดือนมา คุณหมอสามารถตรวจอัลตราซาวด์เบื้องต้นเพื่อประเมินมดลูกและรังไข่ก่อนได้ว่ามีโรคหรือภาวะอะไรที่ต้องแก้ไขก่อนการมีบุตรหรือไม่ ส่วนฝ่ายชายเองตามหลักแล้วควรงดหลั่งน้ำอสุจิก่อนมาเก็บตรวจเป็นเวลา 3-5 วัน แต่หากคุณผู้ชายมีภาระงานมาก หรือไม่สะดวกในการเดินทางไปมาหลายครั้งก็สามารถเก็บน้ำอสุจิตรวจได้แม้ไม่ได้งดหลั่งน้ำอสุจิมาตามเกณฑ์ก็ตาม หากคุณหมอแนะนำให้เจาะเลือดก่อนเริ่มการรักษาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องงดน้ำงดอาหารมาก่อนสามารถเจาะเลือดได้เลย เนื่องจากในการพบแพทย์ครั้งแรกเราจะเน้นไปที่การพูดคุย ตรวจร่างกายและตรวจเลือดเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากและวางแนวทางการรักษาต่อไป…
หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อของคนโบราณที่บอกว่า ถ้าคนท้องนั่งขวางบันไดแล้วจะคลอดลูกยาก …อ่านต่อ
ผลการวิจัยจากหลากหลายสถาบันพบว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะเดินทางของคุณแม่จะสามารถลดความเสี่ยง …อ่านต่อ
วิธีการผสมเทียม หรือการฉีดเชื้อ คือการฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่ได้จากการคัดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกฝ่ายหญิง …อ่านต่อ
อายุของฝ่ายหญิงซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การ …อ่านต่อ
คุณแม่ Fulltime หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกเต็มเวลา จะได้เห็นพัฒนาการทุกก้าวของลูกอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะส่งผลให้ลูกอารมณ์ดี และมีความมั่นคงทางอารมณ์ค่ะ …อ่านต่อ
3 สัญญาณบอกว่าคุณท้องลูกแฝด
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว – คุณแม่ส่วนมากจะเห็นหน้าท้องออกอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนที่ 5 ขึ้นไป…อ่านต่อ