ให้คำปรึกษาตรวจหาสาเหตุรักษาภาวะมีบุตรยาก (Counselling investigation and treatment of infertility problem)
หากคู่สมรสท่านใดวางแผนจะมีบุตรโดยไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป หรือมีในช่วงที่ไข่ตก โดยพยายามเกิน 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ แสดงว่าท่านมีปัญหาภาวะมีบุตรยาก หรือหากได้พยายามเกิน 6 เดือนในคู่สมรสที่ภรรยาอายุมากว่า 35 ปี ก็จัดว่ามีปัญหามีบุตรยากแล้วแนะนำให้รีบเข้ารับคำปรึกษาที่ GFC ซึ่งเราจะมีสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลและนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นอย่างดีคอยช่วยเหลือท่าน
การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ
ปัจจุบันพบว่า ภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยโดยทุกเจ็ดคู่สมรสที่พยายามจะมีบุตร จะพบปัญหานี้อย่างน้อยหนึ่งคู่ ซึ่งพบสาเหตุมาจากทั้งฝ่ายหญิงและชายใกล้เคียงกัน สาเหตุบางส่วนเกิดร่วมกัน ดังนั้นจึงควรเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยทั้งคู่ เพื่อค้นหาสาเหตุ เมื่อคู่สมรสที่เข้ามารับการรักษาที่ GFC Clinic เราจะสืบค้นประวัติ เช่น อายุ ระยะเวลาการพยายามมีบุตร ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ ประวัติการตั้งครรภ์ การแท้ง ประวัติโรคประจำตัว สุขภาพทั่ว ๆ ไป เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
ฝ่ายชาย จะได้รับการ ตรวจร่างกาย เพื่อหาความผิดปกติของอัณฑะและอวัยวะเพศ มีตรวจวิเคราะห์จำนวน, รูปร่าง และคุณภาพของน้ำเชื้ออสุจิ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอสุจิ
ฝ่ายหญิง จะได้รับการตรวจภายใน, อัลตราซาวด์ เพื่อประเมิน อุ้งเชิงกราน มดลูก และรังไข่ เจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ วิธีตรวจพิเศษ เช่น การฉีดสีเพื่อประเมินโพรงมดลูก และท่อนำไข่ การส่องโพรงมดลูก หรือส่องกล้องหน้าท้อง เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะวิเคราะห์หาสาเหตุและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมของในแต่ละคู่สมรส เพื่อให้ท่านประสบความสำเร็จในการมีบุตร
ขั้นตอนและการวางแผนเพื่อการรักษา
- การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มรักษา สามีและภรรยาที่จะเริ่มการรักษาที่ GFC Clinic ควรได้รับคำแนะนำในการเตรียมสุขภาพก่อนการรักษาดังนี้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เข้านอนก่อนเที่ยงคืน และผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้สมดุล ช่วยทำให้ท้องง่ายขึ้นออกกำลังกาย สม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะช่วยการทำงานรังไข่ตอบสนองต่อฮอร์โมนและการรักษาได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้งห้าหมู่ เสริมด้วยวิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการบำรุงสุขภาพร่างกาย และเพิ่มคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ไข่และน้ำเชื้อ อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเข้ารับการรักษา เช่น
- โฟลิกเอซิด (Folic acid) รับประทานวันละ 5 มิลลิกรัม ทั้งชายและหญิง
- โคเอนไซม์คิวเท็น (Co-enzyme Q10) วันละ 60-100 มิลลิกรัม ทั้งชายและหญิง
- ซิงค์ (Zinc) วันละ 50 มิลลิกรัม สำหรับชาย
- วิตามินซี (Vitamin C) วันละ 1,000 มิลลิกรัม สำหรับชาย
- แอลอาร์จินีน (L-Argenine) วันละ 1,000 มิลลิกรัม สำหรับหญิง
- ดีเอชอีเอ (DHEA) วันละ 100 มิลลิกรัม สำหรับหญิง
- แคลเซียม (Calcium) วันละ 1,000 มิลลิกรัม และวิตามินดี (Vitamin D) 400 IU สำหรับหญิง
- วิตามินอี (Vitamin E) 800-1,000 IU ต่อวัน สำหรับหญิง
- หยุดการสูบบุหรี่ ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น มีข้อมูลยืนยันว่าในฝ่ายหญิงรังไข่จะทำงานได้ดีขึ้นทั้งจำนวนและคุณภาพ ลดอัตราการท้องนอกมดลูกและเพิ่มอัตราการคลอดมีชีวิตสูงขึ้น ในฝ่ายชายจะทำให้คุณภาพและน้ำเชื้ออสุจิดีขึ้นอย่างชัดเจน
- งดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด เพื่อลดความพิการของทารก, หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา คาเฟอีน เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์
- ควรตรวจประเมินเฉพาะก่อนการตั้งครรภ์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กรณีที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น เบาหวาน, ความดันโรคหัวใจ, ไทรอยด์ผิดปกติ เพื่อรักษาให้ดีก่อนจะตั้งครรภ์
การตรวจประเมินทั่วไป
ก่อนเริ่มการรักษาที่ GFC Clinic แพทย์จะมีการตรวจเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- ตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดเชื้อไวรัสต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการถ่ายทอดไปยังทารก เช่น เอชไอวี (HIV) ตับอักเสบบี (Hepatitis B) ตับอักเสบซี (Hepatitis C) โรคซิฟิลิส (Syphilis)
- ตรวจคัดกรองโรคหัดเยอรมันเพื่อให้วัคซีนป้องกันก่อนเริ่มการตั้งครรภ์
- ตรวจคู่สมรสเพื่อคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียเพื่อลดความเสี่ยงในบุตร
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและส่งตรวจเพิ่มเติมหากพบความผิดปกติ
- ในครอบครัวที่มีประวัติการคลอด ทารกที่ผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะสติปัญญาอ่อน ตาบอดสี อาจต้องมีการส่งตรวจทางพันธุกรรมเพิ่มเติมก่อนเริ่มรักษา
- แพทย์จะประเมินความพร้อมทางจิตใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเครียด หรือ ปัญหาสุขภาพจิตอันจะส่งผลต่อกระบวนการการรักษา
การตรวจประเมินที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก
ฝ่ายหญิง : แพทย์จะซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ และตรวจประเมินภายในด้วยการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความพร้อมของมดลูก, ท่อนำไข่, รังไข่ ซึ่งบอกถึงความสามารถของการตั้งครรภ์ การประเมินเซลล์ไข่คงเหลือ โดยการนับจำนวนไข่ จากอัลตราซาวด์ (Antral Follicle) หรือตรวจวัดระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองและรังไข่ เช่น
Anti-Mullerian Hormone (AMH), Follicle Stimulating Hormone (FSH) เพื่อบ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานของรังไข่เชิงปริมาณ (Ovarian reserve) ช่วยเลือกการวิธีรักษาที่เหมาะสมและใช้ประมาณโอกาสสำเร็จของการตั้งครรภ์ด้วย
ฝ่ายชาย : ตรวจน้ำเชื้ออสุจิ (Sperm Analysis) เพื่อประเมินจำนวนและคุณภาพของเชื้อ ก่อนการตรวจแนะนำให้งดหลั่งน้ำเชื้อมาก่อน 3 – 7 วัน ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนวันตรวจ มีการตรวจพิเศษ DNA fragmentation test เพื่อดูความสมบูรณ์และคุณภาพของตัวอสุจิ เป็นต้น