นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy )
บริษัท บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
1. บทนำ
บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (ต่อไปในนโยบายนี้เรียกว่า“องค์กร”) ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลอื่นอันเกี่ยวกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเชื่อมั่นได้ว่า องค์กรมีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) นี้จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (รวมเรียกว่า “ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการโดย องค์กรรวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ดำเนินการแทนหรือในนามของ องค์กรโดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
2. ขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย
นโยบายนี้ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับองค์กรในปัจจุบันและที่อาจมีในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดย องค์กรเจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา หน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานรูปแบบอื่นที่ดำเนินการโดย องค์กรและรวมถึงคู่สัญญาหรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของ องค์กร(“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) ภายใต้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบ แอปพลิเคชัน เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดย องค์กร(รวมเรียกว่า “บริการ”)
บุคคลมีความสัมพันธ์ กับ องค์กรตามความในวรรคแรก รวมถึง
1) ลูกค้าบุคคลธรรมดา
2) เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้าง
3) คู่ค้าและผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
4) กรรมการ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทน ตัวแทน ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเดียวกันของนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ องค์กร
5) ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของ องค์กร
6) ผู้เข้าชมหรือใช้งานเว็บไซท์ www.genesisfertilitycenter.co.th รวมทั้งระบบ แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นซึ่งควบคุมดูแลโดย องค์กร
7) บุคคลอื่นที่ องค์กรเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ผู้สมัครงาน ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ ผู้ค้ำประกัน ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น
ข้อ 1) ถึง 6) เรียกรวมกันว่า “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล”
นอกจากนโยบายฉบับนี้แล้ว องค์กรอาจกำหนดให้มีคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (“ประกาศ”) สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของ องค์กรเพื่อชี้แจงให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้บริการได้ทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกประมวลผล วัตถุประสงค์และเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายในการประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพึงมีในผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นการเฉพาะเจาะจง
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันในสาระสำคัญระหว่างความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและนโยบายนี้ ให้ถือตามความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของบริการนั้น
- 3.คำนิยาม
– องค์กร หมายถึง บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
– ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
– ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
– การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บรวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
– เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
– ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
– ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
4. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวม
องค์กรเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.
2.
3.
4.
1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดย องค์กรหรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับ องค์กรณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดย องค์กรเป็นต้น
2) ข้อมูลที่ องค์กรเก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
3) ข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่ องค์กร เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่ องค์กร
มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้
4) คลินิกเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลกับคลินิก หรือร้องขอการบริการจากคลินิก ผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของคลินิก อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลง ทะเบียนของคลินิก หรือจากความสมัครใจของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก/ ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างคลินิกและท่าน
5) คลินิกอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่น ธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทนจำหน่าย หรือ ผู้ให้บริการของคลินิก หน่วยงานภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่ องค์กรดังนี้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่องค์กร
ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของ องค์กรอาจเป็นผลให้ องค์กรไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
5. ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรพิจารณากำหนดฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามความเหมาะสมและตามบริบทของการให้บริการ ทั้งนี้ ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรใช้ ประกอบด้วย
ลำดับ | วัตถุประสงค์ | ประเภทข้อมูล | ฐานการประมวลผลที่ชอบด้วยกฎหมาย | |
1. | เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์ 1.1. การให้บริการทางการแพทย์ภายในสถานพยาบาลขององค์กร คณะแพทย์ พยาบาล และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพขององค์กรจะทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อติดตามการรักษา และ/หรือ กระทำการใด ๆ ตามหลักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ท่านเข้ารับบริการ โดยองค์กรจะอธิบายข้อมูลรายละเอียดให้ท่านได้เข้าใจก่อนที่จะดำเนินการ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านซักถามจนเป็นที่พอใจ 1.2. การให้บริการทางการแพทย์ในกรณีจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่าย เพื่อประโยชน์ในการให้บริการทางการแพทย์แก่ท่าน คณะแพทย์ พยาบาล และ/หรือ บุคลากรอื่น ๆ เกี่ยวข้องขององค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้สถานพยาบาลในเครือข่ายในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อการให้บริการบางประเภท ทั้งนี้ องค์กรได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยปราศจากอำนาจ 1.3 เพื่อรับ–ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล (Refer) ในกรณีที่องค์กรมีคำร้องขอหรือได้รับการร้องขอให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่ง เพื่อไปรับการตรวจรักษาต่อที่สถานพยาบาลอื่น หรือมีคำร้องขอหรือได้รับคำร้องขอให้รับผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่งเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลขององค์กรตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล (Refer) องค์กรจะต้องดำเนินตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานขององค์กรและจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยเท่านั้น ไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว: เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น การเข้ารับบริการในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Care) หรือเพื่อรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิก (Refer) (ม.26 (1)) |
ข้อมูลระบุตัวตน, ข้อมูลสำหรับการติดต่อ,ข้อมูลด้านสุขภาพ,ข้อมูลการเงิน | สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว: เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น การเข้ารับบริการในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Care) หรือเพื่อรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิก (Refer) (ม.26 (1)) | |
2. | เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาลโดยไม่บ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรอาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาล โดยจะทำเป็นรูปแบบรายงานผลโดยภาพรวมที่ไม่มีการบ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูล และองค์กรจะรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวของท่านอย่างเคร่งครัด ข้อมูลสถิติ |
ข้อมูลสถิติ | ||
3. | เพื่อการเปิดเผยข้อมูลให้บริษัทประกันภัยที่ท่านหรือองค์กรเป็นคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล บริษัทจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บริษัทประกันภัยเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านหรือองค์กรได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ องค์กรจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้อง |
ข้อมูลระบุตัวตน,ข้อมูลสำหรับการติดต่อ,ข้อมูลด้านสุขภาพ | เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลด้านสุขภาพให้บริษัทประกันภัยเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (ม.26) | |
4. | เพื่อการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่ส่งท่านมาตรวจหรือเป็นผู้ชำระเงินเมื่อท่านได้ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่หน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับองค์กรหรือเป็นผู้ชำระค่าบริการตรวจรักษาให้แก่ท่าน องค์กรจะเปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวให้กับบุคคลดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลดังกล่าวเท่านั้น ถ้าท่านไม่ได้ให้ความยินยอมดังกล่าว องค์กรจะส่งผลตรวจรักษาให้ท่านโดยตรง |
ข้อมูลด้านสุขภาพ | เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26) | |
5. | เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลผ่านโมบายแอพพลิเคชัน เมื่อท่านให้ความยินยอม องค์กรจะนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านในการรับคำปรึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น และเพื่อให้ท่านสามารถบริหารจัดการข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นได้ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระบบจะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่มีอยู่กับสถานพยาบาลในเครือข่ายผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยองค์กรมีความตกลงร่วมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้เป็นไปตามที่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด |
ข้อมูลระบุตัวตน, ข้อมูลสำหรับการติดต่อ,ข้อมูลด้านสุขภาพ | เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26) | |
ุ6. | เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์กร องค์กรอาจทำการเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของท่าน และติดต่อเพื่อสื่อสาร ส่งข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ และนำเสนอโปรโมชั่น สินค้าและบริการ แก่ท่านตามที่ท่านได้ให้ความยินยอม |
ข้อมูลระบุตัวตน, ข้อมูลสำหรับการติดต่อ, ข้อมูลการสมัคร,ข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด | องค์กรจะดำเนินการในเรื่องนี้ได้หลังจากได้รับความยินยอมจากท่านในการให้องค์กรนำข้อมูลด้านสุขภาพไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด (ม.26) |
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้นแล้ว องค์กรจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ยกเว้นในกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อนุญาต เช่น เมื่อได้รับความยินยอมจากท่าน (ม.24) หรือเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในกรณีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (ม.26)
- เพื่อการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.24 (1))
- เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ (ม.24 (2))
- เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างองค์กรกับท่าน (ม.24 (3))
- เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะขององค์กร(ม.24 (4))
- เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท (Legitimate Interest) หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.24 (5))
- เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายขององค์กร(ม.24 (6))
- เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม (ม.26 (1))
- เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย (ม.26 (4))
- เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข หรือการคุ้มครองทางสังคมอื่นใดโดยองค์กรจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26 (5) (ข))
- เพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงาน การให้สวัสดิการรักษาพยาบาล การประกันสังคม (ม.26 (5) (ค))
ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล | รายละเอียด |
เพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือให้เป็นไปตามการใช้อำนาจรัฐที่ องค์กรได้รับ | เพื่อให้ องค์กรสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจรัฐและดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะตามพันธกิจ องค์กรซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมาย |
เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย | เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การให้บริการแอปพลิเคชันเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาดตามนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น |
เพื่อการปฏิบัติตามสัญญา | เพื่อให้ องค์กรสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือดำเนินการอันเป็นความจำเป็นต่อการเข้าทำสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญากับ องค์กรเช่น การจ้างงาน จ้างทำของ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือสัญญาในรูปแบบอื่น เป็นต้น |
เพื่อการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติที่สำคัญ | เพื่อให้ องค์กรสามารถจัดทำหรือสนับสนุนการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติตามที่ องค์กรอาจได้รับมอบหมาย เช่น การจัดทำสถิติการใช้บริการ เป็นต้น |
ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล | เพื่อการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่ องค์กรจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการขอความยินยอมแล้ว เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา 24 หรือ 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือการนำเสนอ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่สัญญาหรือพันธมิตรทางธุรกิจแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น |
เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย | เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของ องค์กรและของบุคคลอื่น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพื่อการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของ องค์กรหรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการภายในของ องค์กรเป็นต้น |
ในกรณีที่ องค์กรมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือเพื่อความจำเป็นในการเข้าทำสัญญา หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือ คัดค้านการดำเนินการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม อาจมีผลทำให้ องค์กรไม่สามารถดำเนินการหรือให้บริการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
6.ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวม
องค์กรอาจเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือบริบทความสัมพันธ์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีกับ องค์กรรวมถึงข้อพิจารณาอื่นที่มีผลกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยประเภทของข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้
ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล | รายละเอียดและตัวอย่าง |
ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล | ข้อมูลระบุชื่อเรียกของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลจากเอกสารราชการที่ระบุข้อมูลเฉพาะตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง ชื่อเล่น ลายมือชื่อ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ เลขที่ใบขับขี่ เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ (สำหรับแต่ละอาชีพ) หมายเลขประจำตัวผู้ประกันตน หมายเลขประกันสังคม เป็นต้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคล | ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น วันเดือนปีเกิด เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ สถานภาพการสมรส สถานภาพการเกณฑ์ทหาร รูปถ่าย ภาษาพูด ข้อมูลพฤติกรรม ความชื่นชอบ ข้อมูลการเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อมูลการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น |
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ | ข้อมูลเพื่อการติดต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ หมายเลขโทรสาร อีเมล ที่อยู่ทางไปรษณีย์บ้าน ชื่อผู้ใช้งานในสังคมออนไลน์ (Line ID, MS Teams) แผนที่ตั้งของที่พัก เป็นต้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและการศึกษา | รายละเอียดการจ้างงาน รวมถึงประวัติการทำงานและประวัติการศึกษา เช่น ประเภทการจ้างงาน อาชีพ ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ ความเชี่ยวชาญ สถานภาพใบอนุญาตทำงาน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการทำงาน ข้อมูลเงินเดือน วันเริ่มงาน วันออกจากงาน ผลการประเมิน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ พัสดุในครอบครองของผู้ปฏิบัติงาน ผลงาน หมายเลขบัญชีธนาคาร สถาบันการศึกษา วุฒิการศึกษา ผลการศึกษา วันที่สำเร็จการศึกษา เป็นต้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย | รายละเอียดเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หมายเลขกรมธรรม์ ประเภทกรมธรรม์ วงเงินคุ้มครอง ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลม เป็นต้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม | ข้อมูลความสัมพันธ์ทางสังคมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สถานภาพทางการเมือง การดำรงตำแหน่งทางการเมือง การดำรงตำแหน่งกรรมการ ความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานของ องค์กรข้อมูลการเป็นผู้มีสัญญาจ้างกับ องค์กรข้อมูลการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่ทำกับ องค์กรเป็นต้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของ องค์กร | รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของ องค์กรเช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หมายเลข PIN ข้อมูล Single Sign-on (SSO ID) รหัส OTP ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลระบุพิกัด ภาพถ่าย วีดีโอ บันทึกเสียง ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน (เว็บไซต์ที่อยู่ในความดูแลของ องค์กรเช่น www.genesisfertilitycenter.co.th หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ) ประวัติการสืบค้น คุกกี้หรือเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน หมายเลขอุปกรณ์ (Device ID) ประเภทอุปกรณ์ รายละเอียดการเชื่อมต่อ ข้อมูล Browser ภาษาที่ใช้งาน ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน เป็นต้น |
ข้อมูลการชำระเงิน | ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และรายละเอียดบัญชี ธนาคาร |
ข้อมูลการเข้ารับบริการ | ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ |
ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด | ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้ |
ข้อมูลด้านสุขภาพ | รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน |
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน | ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เชื้อชาติ ข้อมูลศาสนา ข้อมูลความพิการ ข้อมูลความเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลชีวภาพ (ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า) ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น |
7.นโยบายคุกกี้
องค์กรเก็บรวบรวมและใช้คุกกี้รวมถึงเทคโนโลยีอื่นในลักษณะเดียวกันในเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลของ องค์กรเช่น www.genesisfertilitycenter.co.th หรือบนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามแต่บริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการให้บริการของ องค์กรและเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานบริการของ องค์กรและข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ของ องค์กรให้ตรงกับความต้องการของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถตั้งค่าหรือลบการใช้งานคุกกี้ได้ด้วยตนเองจากการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
8.ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถ
กรณีที่ องค์กรทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเก็บรวบรวม เป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ องค์กรจะไม่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
กรณีที่ องค์กรไม่ทราบมาก่อนว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และมาพบในภายหลังว่า องค์กรได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวโดยยังมิได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ดังนี้ องค์กรจะดำเนินการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนั้นโดยเร็วหาก องค์กรไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายประการอื่นนอกเหนือจากความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
9.วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือกิจกรรมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้บริการ ตลอดจนลักษณะความสัมพันธ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกับ องค์กรหรือข้อพิจารณาในแต่ละบริบทเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการดำเนินประโยชน์ที่ องค์กรได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง หรือเป็นการจำเป็นเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมายที่ องค์กรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อให้บริการและบริหารจัดการบริการของ องค์กรทั้งบริการภายใต้สัญญาที่มีต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามพันธกิจของ องค์กร
- เพื่อการดำเนินการทางธุรกรรมของ องค์กร
- ควบคุมดูแล ใช้งาน ติดตาม ตรวจสอบและบริหารจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- เพื่อเก็บรักษาและปรับปรุงข้อมูลอันเกี่ยวกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งเอกสารที่มีการกล่าวอ้างถึงเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- จัดทำบันทึกรายการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
- วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับบริการของ องค์กร
- เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการบริหารจัดการภายในองค์กรรวมถึงการรับสมัครงาน การสรรหากรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ การประเมินคุณสมบัติ
- ป้องกัน ตรวจจับ หลีกเลี่ยง และตรวจสอบการฉ้อโกง การละเมิดความปลอดภัย หรือการกระทำที่ต้องห้าม หรือผิดกฎหมาย และอาจเกิดความเสียหายต่อทั้ง องค์กรและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- การยืนยันตัวตน พิสูจน์ตัวตนและตรวจสอบข้อมูลเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสมัครใช้บริการของ องค์กรหรือติดต่อใช้บริการ หรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
- ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันสมัย
- การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง
- ส่งการแจ้งเตือน การยืนยันการทำคำสั่ง ติดต่อสื่อสารและแจ้งข่าวสารไปยังเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- เพื่อจัดทำและส่งมอบเอกสารหรือข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องและจำเป็น
- ยืนยันตัวตน ป้องกันการสแปม หรือการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือผิดกฎหมาย
- ตรวจสอบว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าถึงและใช้บริการของ องค์กรอย่างไร ทั้งในภาพรวมและรายบุคคล และเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้า และการวิเคราะห์
- ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ องค์กรมีต่อหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุม หน่วยงานด้านภาษี การบังคับใช้กฎหมาย หรือภาระผูกพันตามกฎหมายของ องค์กร
- ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของ องค์กรหรือของบุคคลอื่น หรือของนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินการของ สพร
- ป้องกัน หรือหยุดยั้งอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งรวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด
- จัดเตรียมเอกสารทางประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การค้นคว้า หรือจัดทำสถิติที่ องค์กรได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
- เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่งที่มีผลบังคับใช้ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับคดีความ การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลตามหมายศาล รวมถึงการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของคลินิก
- นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของคลินิก
- การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
- การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
- ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากคลินิก
- อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
- จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
- เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบคำถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
- สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติ ประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้แก่ ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
- วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่น การตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
- รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในคลินิก
- เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติตามกฎของคลินิก
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจากท่านเป็นครั้งคราว
10.ประเภทบุคคลที่ องค์กรเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 9 ข้างต้น องค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ประเภทของบุคคลผู้รับข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรเป็นการทั่วไป เฉพาะบุคคลผู้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้
ประเภทบุคคลผู้รับข้อมูล | รายละเอียด |
หน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอำนาจที่ องค์กรต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามกฎหมายหรือวัตถุประสงค์สำคัญอื่น (เช่น การดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ) | หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลหรือมีวัตถุประสงค์อื่นที่มีความสำคัญ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานตำรวจ ศาล สำนักงานอัยการ กรมควบคุมโรค กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น |
คณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎหมายของ องค์กร | องค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการผู้ถือหุ้น เป็นต้น |
คู่สัญญาซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานของ องค์กร | บุคคลภายนอกที่ องค์กรจัดซื้อจัดจ้างให้ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการ เช่น บริษัทประกันภัย คลินิก บริษัทผู้จัดทำ Payroll ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรศัพท์ เป็นต้น |
พันธมิตรทางธุรกิจ | องค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่ร่วมงานกับ องค์กรเพื่อประโยชน์ในการให้บริการแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หน่วยงานผู้ให้บริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อผ่านบริการของ องค์กรผู้ให้บริการด้านการตลาด สื่อโฆษณา สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ผู้ให้บริการโทรคมนาคม เป็นต้น รวมถึงสถานพยาบาลในเครือข่าย และกลุ่มบริษัทเท่าที่จำเป็นในการให้บริการการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์กับท่าน โดยองค์กรจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น และองค์กรจะรักษาความลับให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามหน้าที่ที่องค์กรมีภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 |
ผู้ให้บริการ | องค์กรอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการแทน หรือสนับสนุนการดำเนินการของ องค์กรเช่น ผู้ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล (เช่น คลาวด์ โกดังเอกสาร) ผู้พัฒนาระบบ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ผู้ให้บริการจัดส่งเอกสาร ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ให้บริการด้าน Digital ID ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ให้บริการด้านการบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาภายนอก ผู้ให้บริการขนส่ง เป็นต้น |
ผู้รับข้อมูลประเภทอื่น | องค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลผู้รับข้อมูลประเภทอื่น เช่น ผู้ติดต่อ องค์กรสมาชิกในครอบครัว มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร วัด คลินิก สถานศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับบริการของ องค์กรการฝึกอบรม การรับรางวัล การร่วมทำบุญ บริจาค เป็นต้น |
เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายอนุญาต | การเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด การเปิดเผยข้อมูล ตามคำสั่งศาล และ/หรือ การเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหรือพิจารณาคดี ซึ่งผู้ให้บริการสามารถเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย |
ผู้ใช้บริการ หรือ ผู้ดูแล ได้ร้องขอ | ผู้ใช้บริการ หรือ ผู้ดูแล ได้ร้องขอและให้อำนาจแก่คลินิก หรือ ข้อมูลที่จัดสรรนั้นเป็นไปเพื่อช่วยให้การเริ่มต้นธุรกรรมของผู้ใช้บริการ หรือ ผู้ดูแลสำเร็จลุล่วง หรือข้อมูลที่จัดสรรให้แก่นิติบุคคลหรือบุคคลใดๆ ที่คลินิกเป็นคู่สัญญา เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ ข้อมูล และ/หรือ การปรับปรุงการให้บริการ |
การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ | องค์กรอาจเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต่อสาธารณะในกรณีที่จำเป็น เช่น การดำเนินการที่กำหนดให้ องค์กรต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น |
11.การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
ในบางกรณี องค์กรอาจจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพื่อส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังระบบคลาวด์ (Cloud) ที่มีแพลตฟอร์มหรือเครื่องแม่ข่าย (Server) อยู่ต่างประเทศ (เช่น ประเทศสิงคโปร์ หรือสหรัฐอเมริกา เป็นต้น) เพื่อสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการของ องค์กรที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นรายกิจกรรม
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่จัดทำนโยบายฉบับนี้ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังมิได้มีประกาศกำหนดรายการประเทศปลายทางที่มีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ ดังนี้ เมื่อ องค์กรมีความจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศปลายทาง องค์กรจะดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอตามมาตรฐานสากล หรือดำเนินการตามเงื่อนไขเพื่อให้สามารถส่งหรือโอนข้อมูลนั้นได้ตามกฎหมาย ได้แก่
- เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้ องค์กรต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ
- ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่ประเทศปลายทางมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ตามประกาศรายชื่อประเทศที่คณะกรรมการคุ้มครองส่วนบุคคลประกาศกำหนด
- เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญากับ องค์กรหรือเป็นการทำตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการเข้าทำสัญญานั้น
- เป็นการกระทำตามสัญญาของ องค์กรกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้
- เป็นการจำเป็นเพื่อดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ
12. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ ฉบับแก้ไขล่าสุด โดยองค์กรจะเก็บเวชระเบียนข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ของท่านไว้ในระบบของสถานพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันที่บริษัทได้จัดทำ แต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลจะเก็บไว้จนกว่าท่านไม่ได้ติดต่อทางบริษัทเกินกว่า 10 ปีนับจากวันที่มารับการรับการรักษาพยาบาลครั้งสุดท้าย เมื่อครบกำหนด 10 ปีดังกล่าวแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนา และเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับของสภาวิชาชีพอื่น ๆ ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใดๆ องค์กรอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมายหรือข้อบังคับดังกล่าวกำหนด หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
13. การให้บริการโดยบุคคลที่สามหรือผู้ให้บริการช่วง
องค์กรอาจมีการมอบหมายหรือจัดซื้อจัดจ้างบุคคลที่สาม (ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ให้ทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของ องค์กรซึ่งบุคคลที่สามดังกล่าวอาจเสนอบริการในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้ดูแล (Hosting) รับงานบริการช่วง (Outsourcing) หรือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud computing service/provider) หรือเป็นงานในลักษณะการจ้างทำของในรูปแบบอื่น
การมอบหมายให้บุคคลที่สามทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น องค์กรจะจัดให้มีข้อตกลงระบุสิทธิและหน้าที่ของ องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและของบุคคลที่ องค์กรมอบหมายในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงกำหนดรายละเอียดประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรมอบหมายให้ประมวลผล รวมถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่ระบุในข้อตกลงและตามคำสั่งของ องค์กรเท่านั้นโดยไม่สามารถประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้
ในกรณีที่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีการมอบหมายผู้ให้บริการช่วง (ผู้ประมวลผลช่วง) เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้ องค์กรจะกำกับให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจัดให้มีเอกสารข้อตกลงระหว่างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ประมวลผลช่วง ในรูปแบบและมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่าข้อตกลงระหว่าง องค์กรกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล โดยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลให้สามารถเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะรายหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองรับรู้จากการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ โดย องค์กรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทั้งในเชิงองค์กรหรือเชิงเทคนิกที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด นอกจากนี้ เมื่อองค์กรมีการส่ง โอนหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สาม ไม่ว่าเพื่อการให้บริการตามพันธกิจ ตามสัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่น องค์กรจะกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความลับที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวมจะมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
15. การเชื่อมต่อเว็บไซต์หรือบริการภายนอก
บริการของ องค์กรอาจมีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์หรือบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งเว็บไซท์หรือบริการดังกล่าวอาจมีการประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเนื้อหาสาระแตกต่างจากนโยบายนี้ องค์กรขอแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลศึกษานโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์หรือบริการนั้น ๆ เพื่อทราบในรายละเอียดก่อนการเข้าใช้งาน ทั้งนี้ องค์กรไม่มีความเกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจควบคุมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซท์หรือบริการดังกล่าวและไม่สามารถรับผิดชอบต่อเนื้อหา นโยบาย ความเสียหาย หรือการกระทำอันเกิดจากเว็บไซต์หรือบริการของบุคคลที่สาม
16.เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับและให้คำแนะนำในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
17.สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อกฎหมายในส่วนของสิทธินี้มีผลใช้บังคับ โดยรายละเอียดของสิทธิต่าง ๆ ประกอบด้วย
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึง รับสำเนาและขอให้เปิดเผยที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรเก็บรวบรวมไว้โดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่ องค์กรมีสิทธิปฏิเสธคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือกรณีที่การใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นปัจจุบัน เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้แก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
สิทธิในการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ องค์กรลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ต่อไป ทั้งนี้ การใช้สิทธิลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีดังต่อไปนี้
ก.เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ องค์กรทำการตรวจสอบตามคำร้องขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
ข.ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ค.เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ที่ องค์กรได้แจ้งในการเก็บรวบรวม แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์ให้ องค์กรเก็บรักษาข้อมูลนั้นต่อไปเพื่อประกอบการใช้สิทธิตามกฎหมาย
ง.เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ องค์กรกำลังพิสูจน์ถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตรวจสอบความจำเป็นในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเนื่องมาจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่ องค์กรมีเหตุในการปฏิเสธคำขอโดยชอบด้วยกฎหมาย (เช่น องค์กรสามารถแสดงให้เห็นว่าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายยิ่งกว่า หรือเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะของ องค์กร)
สิทธิในการขอถอนความยินยอม ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมแก่ องค์กรในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ไม่ว่าความยินยอมนั้นจะได้ให้ไว้ก่อนหรือหลังพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกเก็บรักษาโดย องค์กรเว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายให้ องค์กรจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลต่อไปหรือยังคงมีสัญญาระหว่างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกับ องค์กรที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอยู่
สิทธิในการขอรับ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอรับข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจาก องค์กรในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยวิธีการอัตโนมัติ รวมถึงอาจขอให้ องค์กรส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น ทั้งนี้ การใช้สิทธินี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
18.โทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การไม่ปฏิบัติตามนโยบายอาจมีผลเป็นความผิดและถูกลงโทษทางวินัยตามกฎเกณฑ์ของ องค์กร(สำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของ องค์กร) หรือตามข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ทั้งนี้ ตามแต่กรณีและความสัมพันธ์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีต่อ องค์กรและอาจได้รับโทษตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมทั้งกฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง
19.การร้องเรียนต่อหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแล
ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า องค์กรมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนไปยังคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือตามกฎหมาย ทั้งนี้ ก่อนการร้องเรียนดังกล่าว องค์กรขอให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อมายัง องค์กรเพื่อให้ องค์กรมีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริงและได้ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงจัดการแก้ไขข้อกังวลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนในโอกาสแรก
20.โทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
องค์กรอาจพิจารณาปรับปรุง แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ตามที่เห็นสมควร และจะทำการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.genesisfertilitycenter.co.th โดยมีวันที่มีผลบังคับใช้ของแต่ละฉบับแก้ไขกำกับอยู่ อย่างไรก็ดี องค์กรขอแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโปรดตรวจสอบเพื่อรับทราบนโยบายฉบับใหม่อย่างสม่ำเสมอ ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือช่องทางเฉพาะกิจกรรมที่ องค์กรดำเนินการ โดยเฉพาะก่อนที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่ องค์กร
การเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของ องค์กรภายหลังการบังคับใช้นโยบายใหม่ ถือเป็นการรับทราบตามข้อตกลงในนโยบายใหม่แล้ว ทั้งนี้ โปรดหยุดการเข้าใช้งานหากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่เห็นด้วยกับรายละเอียดในนโยบายฉบับนี้และโปรดติดต่อมายัง องค์กรเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป
21.การติดต่อสอบถามหรือใช้สิทธิ
หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรหรือเกี่ยวกับนโยบายนี้ หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องการใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
1) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
2) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)
3) เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)
ชื่อ: บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 924/2 ถ. พระรามที่ 3 แขวง บางโพงพาง เขต ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 09-7484-5335
อีเมล : dpo@genesisfertilitycenter.co.th
ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567
นายกรพัส อัจฉริยะมานีกูล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร